วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 7 บทที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอน หัวข้อที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย


รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย
มีกลุ่มบุคคลทั้งที่อยู่ในวงการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในวงการอื่นที่ไม่ใช่การศึกษาแต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษา ได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่าง เป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลำดับชัดเจนและได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อยจากสังคม กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน” โดยแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน



1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย



1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
    การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตต้องเผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆ การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
          1. การเผชิญ
          2. การผจญ
          3. การผสมผสาน

          4. การเผด็จ

1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดย สุมน อมรวิวัฒน์
รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถจัด สภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ ครูทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิด และแสดงออกอย่างถูกวิธี จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

1.3 รูปแบบการเรียนการสอนการคิดเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้พัฒนารายวิชา การคิดเป็นเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย” ขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษาให้สามารถคิดเป็น รู้จักและเข้าใจตนเอง รายวิชาประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง คือ
1. การพัฒนาความคิด (สติปัญญา)
2. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (สัจธรรม)
3. การพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก
โดยอาศัยแนวคิดที่ว่า คิดเป็น” เป็นการแสดง ศักยภาพของมนุษย์การพยายามปรับตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้ ผสมผสานกลมกลืนกันด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาข้อมูล ด้าน ได้แก่  ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือการ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model)
ทิศนา แขมมณีรองศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ " มหาวิทยาลัย ได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสบการณ์ที่ใช้ได้แนวคิดทางการศึกษาต่างๆ พบว่าหลักการเรียนรู้จำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอด ดังกล่าว ได้แก่
          1. หลักการสร้างความรู้
          2. หลักกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ

          3. หลักความพร้อมในการเรียนรู้
          4. หลักการการเรียนรู้กระบวนการ
          5. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้
แนวคิด “CIPPA”

          C = (construction of knowledge) การให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง
          I = (interaction) มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน บุคคลอื่นๆและสิ่งแวดล้อมรอบตัวหลายๆด้าน
          P = (process skills) การใช้ทักษะกระบวนการต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือในกาสร้างความรู้
          P = (physical participation) มีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้ มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัว ไม่เฉื่อยชา 
          A = (application) นำความรู้นั้นไป ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย



2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ได้เลือกสรรรูปแบบที่น่าสนใจมานำเสนอ 5 รูปแบบให้ครอบคลุมระดับ การศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งอาชีวศึกษา ดังนี้

2.1 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการกิจกรรมทางกาย (Physical Knowledge Activity) ในการสร้างมโนทัศน์พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กก่อนประถมศึกษา
วิธีการกิจกรรมทางกาย (Physical Knowledge Activity Approach) เป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมทางกาย ซึ่งอาจเป็นการเคลื่อนไหวในการกระทำกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และใช้ประสาทสัมผัสสังเกต หรือปฏิกิริยาของสิ่งที่ถูกกระทำนั้น ซึ่งเป็นผลจาการสังเกต จะทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการทาง สติปัญญา โดยผู้เรียนสร้าง (construct) ความคิดหรือความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง ซึ่งความคิดหรือความรู้ในระดับอนุบาลนั้นเกิดขั้นรับรู้ ( perceive)เกิดรู้สึก ( feel) เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นอธิบายเหตุผล

2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท (Anchored Instruction) เพื่อ ส่งเสริมความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล ให้ความหมายของ “anchor”  ตามลักษณะการใช้งานได้ว่าเป็น "1. จุดรวม 2. ความลึก 3. ความกว้าง ซึ่งแสดงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นําสาระซึ่งมีความซับซ้อนทั้งทางกว้าง และลึกและมีมุมมองได้หลายด้านมาเป็นเนื้อหาการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและ สรุปเป็นองค์รวมได้ “anchor” นั้นจะต้องมีลักษณะที่น่าสนใจมีความแปลกใหม่ เหมาะกับวัยของผู้เรียนการนําเสนอสาระอิงบริบทที่ ยังไม่กระจ่างชัด สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความต้องการจะศึกษาค้นคว้าหาความรู้นั้นใน แง่มุมต่างๆ ที่ผู้เรียนสนใจ

2.3 รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้พัฒนารูปแบบการ เรียนการสอนคณิตศาสตร์นี้ขึ้นเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตเพื่อใช้สอนนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษา โดยใช้แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้ 
          1.การเรียนรู้คือการสร้างโครงสร้างทางปัญญา 
          2.นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีที่ต่างๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
          3. ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเองภายใต้สมมติฐานต่อไปนี้ คือ สถานการณ์ที่เป็นปัญหา ความขัดแย้งทางปัญญา การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์

2.4 รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ (Process Approach) สําหรับนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา
การเขียนเป็น กระบวนการทางสติปัญญาและภาษา การเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นที่กระบวนการทั้งหลายที่ใช้ในการสร้างงานเขียน แต่ผู้เรียนควรพัฒนาทักษะการสร้างความคิด การค้นหาข้อมูลและการวางแผนเรียบเรียงข้อมูลเพื่อนำไปสู่กระบวนการเขียน ซึ่งการเขียน การร่างงานเขียนต้องอาศัยกระบวนการจัดความคิดข้อมูลต่างๆให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง  งานเขียนในระดับสมบูรณ์นั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องมีการแกไขเนื้อหาให้สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนและมีการแก้ไขด้านภาษาและด้านความถูกต้องของไวยากรณ์รวมทั้งการเลือกใช้คำ

2.5 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสําหรับสําหรับครูวิชาอาชีพ
การเรียนการสอนวิชาอาชีพสายต่างๆ ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเน้นทักษะปฏิบัติโดยอาศัยแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติ 9 ประการ ซึ่งมีสาระโดยสรุปว่า วิเคราะห์งานที่จะให้ผู้เรียนทำ ลําดับจากง่ายไปสู่ยากให้ ผู้เรียนได้ฝึกทํางานย่อยๆแต่ละส่วนให้ได้ ควรให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในงานนั้นเป็นอย่างน้อย ฝึกทํางานด้วยตนเองในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับการทํางานจริง โดยจัดลําดับตั้งแต่ง่ายไปยากปรับตัวให้พร้อม ลองทําโดยการเลียนแบบ ลองผิดลองถูกแล้วจึงให้ฝึกทําเอง และทําหลายๆ ครั้งจนกระทั้งชํานาญ สามารถทําได้เป็น อัตโนมัติ ขณะฝึกผู้เรียนควรได้รับข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงงานเป็นระยะๆ และผู้เรียนควรได้รับ การประเมินทั้งทางด้านความถูกต้องของผลงาน ความชํานาญในงาน (ทักษะ) และลักษณะนิสัยใน การทํางานด้วย


3. กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกํบการเรียนการสอน
ในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมา นักศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสอนของไทยตลอดมา เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้ทำให้ประเทศตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีนักคิดจากวงการอื่นๆได้หันมาให้ความสนใจและเสนอแนวคิดต่าง และแนวคิดที่หรือกระบวนการที่ได้รับการสนใจในการศึกษาในประเทศไทยเป็นอย่างมากมี 7 ประบวนการคือ

3.1 กระบวนแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สโรชา บัวศรี
การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนโอยประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคมาใช้ในกระบวนการกรแก้ปัญหาคือ
          
ขั้นกำหนดปัญหา ( ขั้นทุกข์ )
          ขั้นสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย)
          
ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล ( ขั้นนิโรธ)
          
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค)

3.2 กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
กระบวนการกัลยาณมิตร คือ กระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อ 1) ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2) ชี้สุขเกษมศานต์ โดยทุกคนต่างมีเมตตาธรรม พร้อมจะชี้แนะและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการกัลยาณมิตร ช่วยให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาได้โดยการจัดขั้นตอนตามหลักอริยสัจ 4

3.3 การฝึกกระบวนการทางปัญญา ของ นพ.ประเวศ วะสี
    
1. ฝึกสังเกต
    
2. ฝึกบันทึก
    
3. ฝึกนำเสนอ
    
4. ฝึกการฟัง
    
5. ฝึกปุจฉา – วิสัชนา
    
6. ฝึกตั้งคำถาม และสมมติฐาน
    
7. ฝึกค้นหาคำตอบ
    
8. ฝึกการวิจัย
    
9. ฝึกเชื่อมโยง
    
10. ฝึกการเขียน

3.4 กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
    มีแนวทางการคิด แบบเพื่อนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียน
    
1.การคิดแบบนักวิเคราะห์
    
2. การคิดแบบรวบยอด
    
3. การคิดแบบโครงสร้าง
    
4. การคิดแบบผู้นำสังคม

3.5 มิติการคิดและกระบวนการการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทศนา แขมมณีและคณะ
ได้จัดมิติการคิดไว้ 6 ด้าน คือ 
          1. มิติด้านข้อมูลหรือเอหาที่ใช้ในการคิด
          2. มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยตอการคิด
          3. มิติด้านทักษะการคิด
          4. มิติด้านลักษณะการคิด
          5. มิติด้านกระบวนการคิด
          6. มิติด้านควบคุมและประเมินการคิดของตน
3.6 กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
การที่คนจะสามารถคิดเป็นนั้น จำเป็นต้องได้รับการเปิดทาง และแนะแนวให้มีความสามารถในการคิด ครบ 10 มิติ นั่นคือ
          
ประการแรก การคิดเชิงวิพากย์ (
Critical Thinking) 
          
ประการที่สอง การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
          
ประการที่สาม การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)
          
ประการที่สี่ การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
          
ประการที่ห้า การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)
          
ประการที่หก การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
          
ประการที่เจ็ด การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
          
ประการที่แปด การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
          
ประการที่เก้า การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking)
          
ประการที่สิบ การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)
3.7 กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมและดำเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
          1.กำหนอพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่เชิงปรารถนา
          2.เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
          
3.ประเมินปัญหาหาเชิงจริยธรรม
          4.แลกเปลี่ยนผลการประเมิน          5.ฝึกพฤติกรรมโดยมีผลสำเร็จ
          6.เพิ่มระดับความขัดแย้ง
          7.ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
          8.กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตนเอง
3.8 ประบวนต่างๆโดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
1.ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น          1.ขั้นตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
          2.ขั้นคิด วิเคราะห์อย่างรอบคอบความจำเป็น
          3.ขั้นสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย
          
4.ขั้นประเมินและเลือกทางเลือกย่างเหมาะสม
          
5.ขั้นกำหนดขั้นตอนลำดับได้อย่างได้อย่างเหมาะสม
          
6.ขั้นปฏิบัติได้อย่างชื่นชม
          
7.ขั้นประเมินด้วยตนเองระหว่างปฏิบัติ
          
8.ขั้นตอนปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
          
9.ขั้นประเมินผลเพื่อความภูมิใจ
2.กระบวนการความคิดรอบยอด
          
1.สังเกต
          
2. จำแนกวามแตกต่าง
          
3. หาลักษณะร่วม
          
4. ระบุชื่อความคิดรอบยอด
          
5.ทดสอบและนำไปใช้
3.กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          
1. สังเกต
          
2. อธิบาย
          
3. รับฟัง
          
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
          
5. วิจารณ์
          
6. สรุป
4.กระบวนการแก้ปัญหา
          
1. สังเกต
          
2. วิเคราะห์
          
3. สร้างทางเลือก
          
4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
          
5. สรุป
5. กระบวนการสร้างความตระหนัก
          
1. สังเกต
          
2. วิจารณ์
          
3. สรุป
6. กระบวนการปฏิบัติ
          
1. สังเกตรับรู้
          
2. ทำตามแบบ
          
3. ทำโดยไม่มีแบบ
          
4. ฝึกให้ชำนาญ
7. กระบวนการทางคณิตศาสตร์
          
1. ทักษะคำนวณ
          
2. ทักษะการแก้ปัญหา
8. กระบวนการเรียนภาษา
          
1. ทำความเข้าใจสื่อ สัญลักษณ์ รูปภาพ รูปแบบเครื่องหมาย
          
2. สร้างความคิดรอบยอด
          
3. สื่อความหมาย ความคิด
          
4. พัฒนาความสามารถ
9. กระบวนการกลุ่ม
          
1. มีผู้นำกลุ่ม
          
2. วางแผนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
          
3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก
          
4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
          
5. ติดตามผลการปฏิบัติและปรับปรุง
          
6. ประเมินผลรวมและชื่นชมผลงานในคณะ
10. กระบวนการสร้างเจตคติ
          
1. สังเกต
          
2. วิเคราะห์
          
3. สรุป
11. กระบวนการสร้างค่านิยม
          
1. สังเกต ตระหนัก
          
2. ประเมินเชิงเหตุผล
          
3. กำหนดค่านิยม
          
4. วางแผนปฏิบัติ
          
5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
12. กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ          1. สังเกต ตระหนัก
          
2. วางแผนปฏิบัติ
          
3. ลงมือปฏิบัติ
          
4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
          
5. สรุป
สรุป
          ความหลายหลายของกระบวนการสอนต่างๆและการแก้ปัญหาที่หลากหลายรูปแบบสามารถช่วยให้ผู้สอนมีทางเลือกในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งผู้สอนควรพิจารณานำไปใช้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความแปลกใหม่ ซึ่งสามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้มากขึ้น


Model



สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและไม่ใช่การภาพในสถานศึกษา และในห้องเรียน ซึ่ง หมายรวมถึง เงื่อนไข สถานการณ์ หรือสภาพการที่มีผลต่อการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการสนับสนุน การเรียนรู้ และการนําวิทยาการไปใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้ บริหาร

กระบวนการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนที่ได้รับการยอมรับ รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา การ สร้างสรรค์ และการเรียนอย่างลึกซึ้ง การสร้างนิสัยในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยผ่านกระบวนการสอน และพัฒนา การเรียนรู้มากข้ึน


การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (LearningEnvironment) มีความหมายว่าส่ิงต่างๆสภาวะแวดล้อมที่อยู่ รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่งผลต่อผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ และมีผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่ถูกสุขลักษณะ มีสิ่งอํานวยความสะดวกที่มี คุณภาพเหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้มีบรรยากาศในการเรียนที่ดีก็จะส่งผลทางบวกต่อผู้เรียนทําให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขมีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการเรียน

คำว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “currere” หมายถึง“running course” หรือ เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง ต่อมาได้นำศัพท์นี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence of course or learning experience” (Armstrong, 1989 : 2) เป็นการเปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชา หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่าหลักสูตรหลายท่าน
          เมื่อนั่งทบทวนบทเรียน เราจะนำข้อมูลมากมายมหาศาลจากหนังสือและสิ่งที่จดไว้มาเก็บในสมองได้อย่างไร เราต้องฝึกตนเองให้มีพฤติกรรมที่ดีในการทบทวนบทเรียนก่อน โดยเริ่มต้นจากพยายามเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนของตนเองอย่างจริงจังจนกระทั่งกลายเป็นนิสัย แล้วในที่สุดเราก็จะสามารถทบทวนบทเรียนได้ง่ายขึ้น

อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.  วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

https://th.wikihow.com/%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99

http://immyberry.blogspot.com/2013/11/learning-environments.html

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น