ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ
ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่วไป หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้วงานนั้นย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
การใช้ การใช้วิธีการจัดระบบต่างๆ รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้
ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน
ซึ่งการเมืองแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่างๆได้
ความหมายของการวางแผนการสอน
ไพฑูรย์
สินลารัตน์(หน้า 68) ได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า
การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง
ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา
การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผล
วาสนา
เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า
การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร
เมื่อถึงเวลาจริงๆก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้
ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย
เกิดการผิดพลาดลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์ พรหมวงค์(2543.
หน้า 44) เสนอไว้ว่า
การวางแผนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอนโดยใช้ข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
จากคำจำกัดความของนักการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่า
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด
เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์
ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสอนที่ดี
เพราะการวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด
ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ
นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้ายังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอน
และการประเมินผลได้ถูกต้อง
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย
ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
ในการวางแผนการสอนนั้นผู้สอนหรือผู้วางแผนจะต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอน
ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน
งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้ฟังแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียน
และสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2. การวิเคราะห์เนื้อหา
โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง
ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปลีกย่อยของหน่วยใหญ่
และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง
สำหรับเนื้อหาของบทเรียนก็ต้องมีเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง
และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อมและความรู้เดิมของผู้เรียนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่างๆ
4. ความคิดรวบยอด
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือ
แก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับอาจเปรียบได้ง่ายๆกับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ
โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร
การสอนก็เช่นเดียวกันผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาสาระอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้
การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง
โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าเช่นเดียวกัน
โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร
ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม (ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง
(พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย
(พฤติกรรมที่เป็นผลลัพธ์ซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
แนวทางการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้
2 แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
1. การวางแผนระยะยาว
หมายถึง การวางการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง
ต้องใช้เวลาในการสอนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนและเป็นปี
โดยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรใหม่
เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น
หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่องให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องมีแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง
การวางแผนการสอนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่างๆกัน และอาจเรียกว่า
บันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่า หรือแผนการสอน แต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งยังคงใช้คำว่าแผนการสอน
ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทน
ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่
เพราะสร้างความเข้าใจได้ง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว
สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่งโดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่างๆ
เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้น
การกำหนดการสอนซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
คือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียน
วันหยุดวันสำคัญต่างๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ
ตลอดจนการกำหนดวันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอนเปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลาการดำเนินการสอนของผู้สอน
การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม
โดยกำหนดเรื่องใดตอนใดต้องสอนก่อนหลังใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทำตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี
รายภาค รายสัปดาห์ ก็สามารถทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ
หรือแผนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเขียนไว้เขียนย่อๆ หรือคร่าวๆ
มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง
ดังนั้น
การทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปีหรือสอนตลอดภาคการเรียนว่า
จะสอนอย่างไรให้เนื้อหาต่อเวลาในการสอนสัมพันธ์กันการทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วยกัน
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. เริ่มหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนดในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่จะใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของ
แต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
การทำการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอนเพื่อใช้สอนได้สะดวก
ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน
สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอในการคิดวางแผนล่วงหน้า
ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร
เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับภาพแวดล้อมและชุมชนเสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่
การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน
การจัดการผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่มีกระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร
ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
5. ทำให้ประสิทธิผลสะดวก
เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
ซึ่งหมายถึง
แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน
หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี
ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้
ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น
ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร
คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน
ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ
ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน
สามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
POWER POINT CLICK
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น