1. ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
คิดและคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
คือ ความจําเป็น เร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า
นักออกแบบการเรียนการสอนจํานวน 12 คน ที่ทํางานเกี่ยวกับ
เตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบ
เพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ
การประกาศรับสมัครในตําแหน่งดังกล่าวนี้
ได้จัดทําขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิด
อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์พื้นที่เกาะทรีไมล์และเชอร์โนบิล (Three mile and
Chernobyl) : ซึ่งแสดงให้ เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆ
สถานการณ์ วิธีการหนึ่งที่พิสูจน์
ข้อผูกพันที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆ สถานการณ์ คือ
การผ่านการรับรองใน เรื่องของการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนเป็น การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆ
ที่หลากลาย
ในกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู (nuclear
power plants) มีความต้องการที่ควบคุมการเรียน
การสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ทั้งในด้านการป้องกันและความพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุ
สถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งองค์กร
เพื่อจัดทํานโยบายของตนเองโดยมีมาตรฐานคําสั่งสําหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐาน
ประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
สถาบันจะ เป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปฏิกรณ์ปรมาณู
และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรม ในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (Vandergrift,
1983)
งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน คือ
นําจุดประสงค์และการเรียงลําดับของจุดประสงค์
ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการ
สอน วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ
และใช้การวิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่นๆ
เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และศิลปะ (Vandergrift, 1983) ดังข้อสันนิษฐานของกาเย่
บริกส์ และ เวเกอร์ (Gagne, Briggs, and Wager) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า
เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่า
มีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้คือ
(1) มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล
(2) เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว ที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์
(3) ควรดําเนินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อ การพัฒนามนุษย์
(4) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร
(1) มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล
(2) เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว ที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์
(3) ควรดําเนินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อ การพัฒนามนุษย์
(4) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าความต้องการจําเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน
คือ การ แก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
ด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล
และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บน พื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
2. นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชีย์ (Rita Richey,
1986 : 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง
วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชีเฉพาะเพื่อการพัฒนา
การประเมินผลและการบํารุงรักษา สถานการณ์
หรือเงื่อนไขที่อํานวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา (Unit
of subject matter) ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย
การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับ
ความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน
แต่เป็นผู้ให้ความ ช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ ในขณะที่ไชยยศ เรืองสุวรรณ
ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการ สอน เป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย
จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ปรกอบเบื้องต้นของระบบ
และพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน และไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ. 2533
: 12) ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า
มีองค์ประกอบสี่ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีสอน และการประเมินผล
โดยตั้งคําถามที่คล้ายคลึงกับคําถามของไทเลอร์ (Tyler, 1974 : 1) คือ
1. จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะ ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2. ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมี ความสามารถที่จะทําอะไรได้บ้าง เป็นการกําหนดจุดหมายของการเรียน
3. ผู้เรียนจะเรียนรู้ เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกําหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียน การสอน และ
4. จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกําหนดกระบวนการ ประเมินผล
1. จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะ ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2. ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร หรือมี ความสามารถที่จะทําอะไรได้บ้าง เป็นการกําหนดจุดหมายของการเรียน
3. ผู้เรียนจะเรียนรู้ เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกําหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียน การสอน และ
4. จะได้รู้อย่างไรว่า ผู้เรียนประสบผลสําเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกําหนดกระบวนการ ประเมินผล
ส่วนชีลส์
และกลาสไกว์ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอน เป็นทั้งกระบวนการ และสาขาวิชา (process
and discipline) ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียน
การสอนเฉพาะที่ใช้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียน
การสอน ในฐานะที่เป็นสาขาวิชา (discipline of an area of study) จะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
การวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการ
ในการพัฒนาความเฉพาะเจาะจงนั้นๆ การออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง การสร้างสรรค์ความ
เฉพาะเจาะจงสําหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการพัฒนา การประเมิน
การบํารุงรักษา การเผยแพร่สถานการณ์เหล่านั้น การออกแบบการเรียนการสอนมีขอบเขตตั้งแต่หน่วยหรือชุด
(module) บทเรียน (lesson) หรือประสบการณ์ระดับเล็กๆ
น้อยๆ ที่ได้จากหลักสูตรหรือสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงระดับใหญ่ๆ
คุณลักษณะสําคัญสประการของการออกแบบการเรียนการสอนคือ
1. เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ
2. ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของ การวิจัยและทฤษฎี
3. ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ และ
4. เทคโนโลยี ที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและราคา (Seels and Glassgow, 1990 : 4)
1. เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ
2. ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของ การวิจัยและทฤษฎี
3. ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ และ
4. เทคโนโลยี ที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและราคา (Seels and Glassgow, 1990 : 4)
ส่วนกาเย่
บริกส์ และวาเกอร์ (Gagne, Briggs and Wager 1992 : 20) ได้ให้ความหมายของการออกแบบ
การเรียน การสอนโดยเริ่มตั้งแต่การนิยามระบบการเรียนการสอน (instructional
systems) โดยนิยามว่าระบบ
การเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพย์กรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ระบบการเรียน
การสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน เช่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ระบบ การเรียนการสอนจะเป็นที่ได้รู้จักอย่างกว้างขวาง
ในกองทหารก็มีระบบการเรียนการสอนซึ่งอาจ กล่าวได้ว่า
เป็นระบบการเรียนการสอนที่ใหญ่ที่สุด ในวงการอุตสาหกรรมก็มีระบบการเรียนการ
สอนด้วยเช่นกัน และบ่อยครั้งเรียกว่าเป็นระบบการฝึกอบรม (training Systems)
สถาบันใดๆ ก็ตามที่ มีจุดหมายในการพัฒนาความสามารถของมนุษย์
อาจกล่าวได้ว่าสถาบันนั้นๆ มีเรื่องของระบบการ เรียนการสอนควบคู่อยู่ด้วย
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional
systems design) เป็นกระบวนการเชิง ระบบของการวางแผนระบบการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนการสอน
(instructional development) เป็นกระบวนการของการนําแผนไปใช้
เมื่อรวมหน้าที่ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะ
กลายเป็นองค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technology) ซึ่งเป็นคําที่กว้าง
กว่าระบบการเรียนการสอน และอาจนิยามได้ว่า
เป็นการประยุกต์ระบบของทฤษฎีและความรู้ที่ใช้ใน
ภาระงานของการออกแบบการเรียนการสอนและการพัฒนาเทคโนโลยีการสอน หมายรวมถึงคําถาม
ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับว่า บุคคลเรียนรู้อย่างไร
และจะออกแบบระบบการเรียนการสอน หรือวัสดุ อุปกรณ์อย่างไรจึงจะดีที่สุด
การออกแบบการเรียนการสอน
อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น การออกแบบระบบการเรียน การสอน (Instructional
Systems Designs : ISD) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน (Instructional
Systems Designs : ISD) การออกแบบการเรียนรู้ (Learning Systems
Designs : LSD) การเรียน การสอนแบบสมรรถภาพ (Competency-Based
Instruction) การเรียนการสอนแบบอิงเกณฑ์ (Criterion
reference instruction) และ เทคโนโลยีการปฏิบัติ (performance
technology) (ไชยยศ, 2533 : 13)
อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน
หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียน การสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์
หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการ เรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลาย ๆ ทฤษฎี เช่น
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ตลอดจน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
3. ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
การลงทุนที่ประสบความสําเร็จ
หมายถึงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์
หากเปรียบเทียบกับการทํางานทางธุรกิจแล้ว ประโยชน์ย่อมหมายถึงกําไร
เจ้าของกิจการได้กําไร ลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพและบริการ
คนงานและลูกจ้างได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม และมี ความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท
ในทํานองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์
จากการเรียนการสอนไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าวว่า
1. ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจ
ในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2. นักออกแบบการสอน
ย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรม ที่น่าพอใจ
ซึ่งตัวบ่งชี้ที่สําคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3. ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้
ความสามารถอื่นๆ ที่จําเป็น รวมทั้ง ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4. ผู้เรียนต้องการความสําเร็จในการเรียน
ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนาน และพอใจ (ไชยยศ, 2533 : 14)
ออร์แลนสกี และสตริง (Oransky
and Stering, 1981) ได้สรุปผลจากการวิจัยการสอน รายวิชาเทคนิคต่างๆ
ด้านการทหารที่มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นอย่างดีว่าสามารถ
ลดเวลาการสอนราชวิชาเหล่านั้นลงได้จาก 25.30
สัปดาห์ เหลือเพียง 9.6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม รายวิชาดังกล่าวที่เป็นรายงานผลการวิจัยนั้น
เป็นรายวิชาด้านการทหาร ยังไม่มีรายงานผลการวิจัย รายวิชาอื่น (ในต่างประเทศ)
ที่พัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแล้วกดเวลา การสอนได้
สําหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ระบบการสอนของโครงการส่งเสริม สมรรถภาพ การสอน (Reduce
Instructional Time : RIT) นั้นเป็นการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน
ที่ผลการวิจัยระบุว่าสามารถลดเวลาการสอนของครู
และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (ไชยยศ. 2533 : 14)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีบางคนได้แย้งว่า
การออกแบบการเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดการ
สร้างสรรค์ในการสอนหรือการออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการสอนที่ดูเหมือนว่าคน
เป็นเครื่องจักรกลมากกว่าที่จะเป็นวิถีทางของมนุษย์ ซึ่งไชยยศ เรืองสุวรรณ
ได้แสดงแนวคิดต่อข้อได้ แย้งดังกล่าวว่า ถ้าการสร้างสรรค์หมายถึง การกําหนด
การพัฒนา และการแสดงออก ซึ่งแนวคิดใหม่เพื่อนําไปแก้ปัญหาต่างๆ แล้ว
กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนย่อมเป็นการสร้างสรรค์ ทั้งนี้
เพราะกระบวนการดังกล่าวมีความยืดหยุ่น ซึ่งหมายความว่า องค์ประกอบต่างๆ
ในระบบการเรียน
การสอนนั้นสามารถพัฒนาได้หลายรูปแบบแตกต่างกันตามแนวคิดของนักออกแบบการเรียน การสอนแต่ละคน
การสร้างสรรค์อาจจะเกิดในช่วงใดก็ได้ การออกแบบการเรียนการสอนคํานึงถึง
การสอนตามวิธีมนุษย์นิยมที่พิจารณาความเป็นปัจเจกบุคคล และความแตกต่างของบุคคล
ในด้านต่างๆ และยังไม่ได้เน้นต่อไปอีกว่า คําอธิบายของคนอาจมีข้อโต้แย้งเช่นกัน
และวิธีขจัด ข้อโต้แย้งที่ดีวิธีหนึ่ง คือ การนําไปทดลองใช้ (ไชยยศ, 2533
:15)
สําหรับผู้เขียนเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากร
ทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน
เพราะการออกแบบการเรียนการสอน จะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจําเป็นของผู้เรียนใน
ด้านกลวิธีการสอนเน้นที่การเรียนการสอนรายบุคคล
เป็นส่วนใหญ่และการประเมินผลเน้นที่ การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
และใช้การประเมินในลักษณะของการประเมินแบบ อิงเกณฑ์ ซึ่งถ้าแยกพิจารณาโดยละเอียด
อาจเป็นดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
จากข้อความจริงที่ว่า บุคคลย่อมแตกต่างกัน ไม่มีคนสองคน ใดเหมือนกันทุกประการ
นักเรียนบางคนเรียนเพื่อหาวิชาได้เร็วมาก บางคนเรียนได้ช้า บางคนเรียน
ได้ดีที่สุดด้วยการปฏิบัติบางคนเรียนได้ดีเมื่อมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
บางคนเรียนได้ดีด้วยการสังเกต ด้วยการอ่าน
บางคนเรียนได้ดีเมื่อมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น บางคนเรียนได้ดีด้วยการสังเกต
ด้วยการอ่าน บางเรียนได้ดีที่สุดด้วยตนเอง
บางคนรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในชีวิตประจําวัน การที่ผู้สอนจะ
เพิกเฉยต่อแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (different learning style) ของแต่ละบุคคลจะทําให้
ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนไม่เกิดผลเท่าที่ควร
เป็นการเสียเวลาทั้งครูและนักเรียนที่ได้ พยายามมาโดยตลอด
การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเอภัตภาพของผู้เรียนแต่ละคน
จะช่วยสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
กลยุทธ์การสอน
การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการสอนรายบุคคล โดยอาศัยสือ ต่างๆ เข้าช่วย
ทั้งที่เป็นสื่อประเภทที่มีความซับซ้อนน้อย เช่น กระดาษ ดินสอ
สื่อที่มีความซับซ้อน ปานกลาง เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และสื่อที่มีความซับซ้อนมาก
ซึ่งหมายถึงสื่อที่มีปฏิกิริยา สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยอาศัยสื่อโทรคมนาคม (interactive
learning media) และคอมพิวเตอร์ เข้าช่วย
การเรียนการสอนรายบุคคลทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนามโนทัศน์ของตนเอง
เป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน
และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพของคนที่ ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ทําให้ผู้เรียนช้าไม่เหนี่ยวรั้งผู้เรียนเร็ว
และผู้เรียนเร็วสามารถไปได้ไกลที่สุดจนสุด พรมแดนความรู้ตนเอง
การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนจะช่วยในจุดนี้ได้
การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
จะทําให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับปรุงตนเอง อยู่เสมอ
เพราะการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว
ประเมินกลุ่ม ย่อยและการทดลองภาคสนาม
การออกแบบการเรียนการสอนจะทําให้การประเมินในลักษณะนี้มี ความชัดเจนขึ้น
และใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ โดยประเมินผู้เรียนแต่ละคนเปรียบเทียบกับเกณฑ์
มาตรฐานที่กําหนดไว้หรือเปรียบเทียบกับจุดประสงค์
ในลักษณะนี้จะทําให้ผู้เรียนเรียนด้วยความ ร่วมมือกันมากกว่าที่จะแข่งขันกัน
เพราะการสร้างสถานการณ์ในชั้นเรียน หรือในสถานศึกษาให้
ผู้เรียนเรียนด้วยความร่วมมือกันนั้นย่อมมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากกว่าการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียน
เกิดการแข่งขันกันแน่นอน เพราะไม่ต้องมีผู้แพ้ให้เกิดปมด้อยไม่ต้องมีการสร้างศัตรู
และที่สําคัญคือ ผู้เรียนสามารถทํางานของตนเองด้วยความสบายใจ
ไม่ต้องพะวงว่าจะสู้คนอื่นไม่ได้ ในขณะเดียวกัน หากเพื่อนมาขอความช่วยเหลืออันใด
ก็จะยินดีให้ความร่วมมือด้วยดี โดยไม่ต้องเกรงว่าเพื่อนจะดีกว่า ตน
นอกจากนี้ยังเป็นการเพาะนิสัยที่พึงปรารถนา ให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย
เพราะหากจัดการเรียนการ สอนแบบร่วมมือกันเป็นพื้นฐานแล้ว
ผู้เรียนจะติดนิสัยการให้ความร่วมมือกับผู้อ่านในภายหน้า จะทําให้สังคมได้เยาวชน นักการเมือง
และผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่างๆ ที่เห็นแก่ส่วนรวม มีความเป็นประชาธิปไตย
ยอมรับความคิดเห็น และปฏิบัติตามมติของกลุ่ม แม้ว่าตนเอง จะไม่เห็นด้วย
รู้จักช่วยให้กลุ่มประสบความสําเร็จในงาน เพราะงานบางอย่าง บางประเภท ไม่อาจ
ทําสําเร็จได้โดยลําพังผู้เดียว ต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ส่วนการแข่งขันนั้น บางครั้งเพราะนิสัยเห็นแก่ตัว หรือเอาตัวรอดให้กับเด็กได้
และหากจะยังมีการแข่งขันกันอยู่ การแข่งขันนั้นควรจะเป็นการเสริมแรงทางบวก คือ
การแข่งขันกับตนเองเพื่อที่จะเอาชนะใจตนเอง มีวินัยในตนเอง และพัฒนาตนเองในที่สุด
ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนจะสนองความต้องการ
ของผู้เรียนและผู้สอนในจุดนี้ได้ด้วยการวางแผนออกแบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์
(กาญจนาและ ลัดดา, 2537)
4. แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
ออกแบบการเรียนการสอนนําความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอน
กระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกําหนดให้ต้อง ระบุว่า จะเรียนอะไร
วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อ ตัดสินว่า
การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention)
จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์
จากลักษณะนี้เองจึงทําให้เกิดแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน ทั่วไป (generic
Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum
and Hansen, 1989)
แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
มีความง่ายในการใช้มาก แต่ต้องใช้ด้วย ความประณีต และปรับปรุงอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตามแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน
โดยทั่วไปได้จัดเตรียมการแนะนําขั้นตอนในกระบวนการของการออกแบบไว้อย่างดี
แบบจําลองใน ลักษณะนี้มีความหมายว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วย
ขั้นตอนทั่วไปเหล่านี้ คือ
1. การวิเคราะห์ (analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าอะไรคือสิ่งที่
ต้องเรียน
2. การออกแบบ (design) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าจะเรียนอย่างไร
3. การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการจัดการและการผลิตวัสดุอุปกรณ์
4. การนําไปใช้ (implementation) เป็นกระบวนการของการกําหนดโครงการในบริบทของโลกแห่งความจริง
และ
5. การประเมินผล (evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนนี้
แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs) ได้เปรียบเทียบ
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ
ในการออกแบบการเรียนการสอน
กระบวนการมีความสําคัญพอๆ กับผลิตผล เพราะว่า
ความเชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล
ต้องดําเนินตาม ขั้นตอนของแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน
สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นตอน ของแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน
สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นของภาระงาน จะต้องแสดงออกมา
และผลที่ได้รับที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษก็จะเกิดขึ้น
5. บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's
role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่
กับสิ่งที่นําเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค
และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการ ออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง
ผู้ออกแบบจําเป็นต้องให้คําแนะนําในการออกแบบกับ ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา (content
expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไป
ผู้ออกแบบก็สามารถจัดทําได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
ผู้ออกแบบสามารถที่จะทํางานเป็นผู้ให้คําปรึกษาจากภายนอก
และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมด เหมือนกับเป็นคนในสํานักงาน (in-house
employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชํานาญการด้าน
เนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการ ด้านเนื้อหา
บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อ
ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow, 1990
: 7-9) คือ
1. ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและ
เทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วย
ไม่จําเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้าน ความรู้ ความชํานาญทางเนื้อหาวิชา
2. ผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ที่ได้รับการร้องขอให้ทํางานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมี ความคุ้นเคย
แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจําเป็นที่จะทํางานกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย
และดังนั้นจึงจําเป็นต้องเลือกและทํางานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจํานวนมาก
นับว่าเป็นเรื่องสําคัญด้วยเหมือนกัน
ที่จะให้ความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้วิจัยและผู้ ปฏิบัติ
เพราะว่าข้อกําหนดในความสําเร็จของทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน
ผู้ที่เป็นนักวิจัยสนใจ ในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบทั่วไป ดังนั้น ความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้ปฏิบัติ
(ID practitioner) จึงแตกต่างออกไป
ความสนใจและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน
ผู้ออกแบบที่เป็นนักปฏิบัติ
สามารถแสดงออกในแต่ละขั้นตอนจากการวิเคราะห์ไปจนถึง การทดลอง
ขึ้นอยู่กับว่าจะพรรณนางานว่าอย่างไร ถ้างานของผู้ออกแบบระบุไว้อย่างแคบๆ แล้ว
ผู้ออกแบบแสดงเพียงสองถึงสามขั้นตอนเท่านั้น โดยละทิงขั้นตอนที่เป็นผลิตผล
การนําไปใช้ และ การประเมินผล
นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID
remember) หรือผู้เชี่ยวชาญ (specialist) สนใจ
ศึกษาตัวแปรและพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอน
นักปฏิบัติการออกแบบการเรียน การสอน (ID practitioner or generation) สนใจการประยุกต์งานวิจัย
และทฤษฎีการพัฒนาการเรียน การสอนและวัสดุอุปกรณ์ บทบาทอื่นๆ
ของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน
สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน
มีอายุประมาณ 30 ปี เป็นบทบาทของนักวิจัย
ที่จะส่งเสริมความงอกงามในทฤษฎีของการออกแบบการเรียนการสอน
และเนื่องจากว่าการออกแบบ การเรียนการสอนเป็นสาขาวิชาประยุกต์
บทบาทของนักวิจัยจึงอาจดูเหมือนว่าแยกตัวออกไป ตามลําพังและมีความสําคัญน้อย
สิ่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าปราศจากกระบวนการทาง ทฤษฎีแล้ว
สาขาวิชาก็จะเฉื่อยชาอยู่กับที่ ความมุ่งหมายของนักออกแบบการเรียนการสอน คือ ความ
จําเป็นที่จะต้องรู้ว่าตนสามารถที่จะก้าวไกลได้ในหนทางแห่งอาชีพของตนเอง
ถ้ารับรู้วิธีการวิจัย ที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (Seels and Glasgow, 19990
: 10)
6. งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการ
ด้านความรู้ความชํานาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน
ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียน
การสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ
การวิจัยและการพัฒนา
ผู้จัดการโครงการอาจจะนําทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวัน
สําหรับการอุตสาหกรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จําเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป
ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ในการทําภาระการออกแบบการเรียนการสอน
________________________________________________________________________________________________
บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน
นิยาม :
บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน คือ การสร้างความรอบรู้อย่างเป็นระบบ
เกี่ยวกับขั้นตอนสําหรับการพัฒนาการเรียนการสอน
บทบาทกําหนดให้ระบุคําถามซึ่งจําเป็นต้อง
ศึกษาวางแผนโครงการโดยอาศัยสารสนเทศในการจัดทําโครางการและรายงานผลของโครงการ
ผลิตผลที่สําคัญ
: บทบาทนี้ให้ผลิตผลคือ
ทฤษฎีกําหนด ทฤษฎีการเรียนการสอน
สารสนเทศจากตัวแปร วิธีการ บทความ
รายงาน ตํารา หนังสือ โครงร่างงานวิจัย
สารสนเทศจากตัวแปร วิธีการ บทความ
รายงาน ตํารา หนังสือ โครงร่างงานวิจัย
สมรรถภาพสําคัญ : ข้อสันนิษฐานเชิงคําถาม
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สมมติฐาน การเลือกวิธีการ การออกแบบงานวิจัย
ตลอดจนการสืบสวนสิ่งแวดล้อม
ความเห็น :
นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนจําเป็นต้องให้ความสนใจในบางส่วนของ
กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนมากกว่ากระบวนการทั้งหมด ผู้วิจัยต้องมีสมรรถภาพที่
แข็งแกร่งในการวิจัยเชิงปริมาณ และให้ความสนใจกับการพิมพ์ เผยแพร่
และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ที่มา : Barbara Seels, and Zita
Glasgow, Exercises in instrucnal (Columbus, Ohio : Merrill Publoshing Company, 1990),
p.9.
__________________________________________________________________________________________________________
บทบาทของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน
นิยาม :
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีบทบาทในการประยุกต์ความรู้ความหลากหลายสาขาวิชาไปสู่
ขั้นตอนในกระบวนการเชิงระบบ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
บทบาทนี้ต้องการให้ระบุว่าอะไรคือ สิ่งที่ต้องเรียนรู้
ต้องการวางแผนเพื่อที่จะให้การเรียนรู้เกิดขึ้น ต้องการวัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินใจว่า
ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และกลั่นกรองสอดแทรกจนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์
ผลิตผลที่สําคัญ :
บทบาทนี้ให้ผลิตผลดังนี้
ประพจน์ปัญหา (ข้อคํากล่าวของปัญหา) กลยุทธ์การเรียนการสอน
การประเมินความต้องการจําเป็น แบบทดสอบ
ความต้องการการปฏิบัติ กลยุทธ์การประเมินผล
ความต้องการการเรียนรู้ ร่างโครงการ (project proposal)
จุดประสงค์การเรียนรู้ พิมพ์เผยแพร่
ประพจน์ปัญหา (ข้อคํากล่าวของปัญหา) กลยุทธ์การเรียนการสอน
การประเมินความต้องการจําเป็น แบบทดสอบ
ความต้องการการปฏิบัติ กลยุทธ์การประเมินผล
ความต้องการการเรียนรู้ ร่างโครงการ (project proposal)
จุดประสงค์การเรียนรู้ พิมพ์เผยแพร่
สมรรถภาพที่สําคัญ : การรวบรวม
การวิเคราะห์ การเรียนรู้ การสังเคราะห์ การประเมินผล การจัด โครงสร้างใหม่
และการแปลความข้อมูล : การเขียน การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ข่าวสาร และระบบ
ความเห็น :
ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนจําเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่อดทนในสองนัย คือ
นัยแรก มีความสามารถในการเดินหน้า และถอยหลังอย่างต่อเนื่อง (มีความยืดหยุ่น)
จากความเป็น นามธรรมไปสู่ความเป็นรูปธรรม นัยที่สองคือ
มีความแจ่มแจ้งในงานสูงพร้อมทั้งมีทักษะ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา: Darbara Seels, and Zita
Glasgow, Exercises in instrucnal (Columbus, Ohio : Merrill
Publoshing Company, 1990), p.9.
ผู้ออกแบบต้องเตรียมตนเอง เพื่อพร้อมที่จะปรับให้เข้ากับเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน
โดยเข้าใจว่างาน ผลิตผล
และสถานการณ์มีความแตกต่างหลากหลายอย่างไรในสาขาของการออกแบบการเรียน
การสอน (Seels, and Glasgow, 1990
: 13-14)
_________________________________________________________________________________________________________
6.1
งานออกแบบ
พิสัยของงาน (job) เป็นไปตามสถานการณ์
และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชํานาญการ
บางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทําหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชํานาญการในขั้นตอนหนึ่งของ
กระบวนการ
ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดําเนินโครงการตั้งแต่
เริ่มต้นจนสิ้นสุด
พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษแต่บาง
งานต้องการระดับความแตกต่างของผู้ชํานาญการ (expertise)
โดยปกติงานในโรงเรียนรวมถึงหน้าที่ในการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของตําแหน่งอื่นๆ เช่น ผู้นิเทศหลักสูตร (curriculum
supervisor) ผู้ชํานาญการด้านสือ (media specialist)
นักเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technologist) เมื่อเปรียบเทียบกับ
สถานการณ์อื่นๆ แล้ว ผลกระทบที่เกิดจากการออกแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับต่ํา
เหตุผลบางประการที่การออกแบบการเรียนการสอนให้ผลกระทบในระดับต่ํา
คือ ครูยึดติด กับธรรมชาติดั้งเดิมของโรงเรียน
ติดแน่นอยู่กับตารางกําหนดงานประจําวัน การพิจารณาให้ทุนกับ โรงเรียนมีน้อย
การที่จะทําให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์ภายใน
โรงเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลงสามประการ คือ 1. ลดจํานวนเวลาที่ใช้โดยครูและนักเรียนในชั้นเรียน
แบบดั้งเดิม (traditional classers) 2. ส่งเสริมการเรียนการสอนรายบุคคลในหลักสูตรให้มากขึ้น
และ 3. ใช้ระบบการสอนที่สิ้นเปลืองงบประมาณน้อย (low
cost) (Sees, and Glasgow, 1990 : 14)
ภาพความหวังสําหรับตําแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ดีเลิศ
เพราะสถิติ ของความต้องการการฝึกอบรมซ้ํา
และความต้องการผู้ทํางานในด้านนี้มากกว่าร้อยละ 40
ของนายจ้าง ที่มีความยากลําบากในการหาผู้ที่มีคุณภาพสําหรับงาน
ร้อยละ 36
ของ 322 บริษัทเฟอร์จูน (Fortune 1500
companies) ได้รายงานการเคลื่อนย้าย
ลูกจ้างไปสู่ตําแหน่งที่ต้องการการฝึกอบรมเพิ่มเติม
แต่มีความขาดแคลนบุคคลสําคัญที่จะฝึกอบรมใน หลายๆ สาขา
และการที่จะบรรลุลูกจ้างที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมในหลายๆ สาขา และการที่จะบรรลุ
ลูกจ้างที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ (Seels, and
Glasgow, 1990 : 14)
________________________________________________________________________________________
ตัวอย่างระดับของผู้ชํานาญการในงานออกแบบการเรียนการสอน
ระดับพื้นฐาน :
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนทํางานในส่วนของโครงการ ภายใต้ทิศทางของ ผู้ออกแบบคนอื่นๆ
การทํางานร่วมกับผู้อื่นเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีอยู่ ผู้ออกแบบทํางานใน
โครงการเล็กๆ หรือทําในส่วนหนึ่งของโครงการ
ระดับกลาง :
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนรับผิดชอบในการพัฒนารายวิชาทั้งหมด หรือรับผิดชอบ
โครงการใหญ่ที่ออกแบบซ้ํา (redesign) ผู้ออกแบบอาจจะเป็นหัวหน้าทีมในโครงการขนาดเล็กหรือขนาดกลาง
ระดับก้าวหน้า :
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนเกี่ยวข้องอย่างมากในการจัดโครงการและเขียนโครงร่าง (proposal
writing) ผู้ออกแบบอาจจะชี้นําการประเมินผลความต้องการจําเป็น
(direct need assessment) หรือประเมินผลการศึกษา
ซึ่งต้องตัดสินทิศทางของโครงการ ผู้ออกแบบนิเทศ ผู้นําทีม และผู้ออกแบบสามารถที่จะทําหน้าที่ตรวจสอบโครงการใหญ่ได้
ที่มา : Barbara Seels, and Zita
Glasgow, Exercises in Instructional Design (Columbus, Ohio :
Merrill Publishing Company, 1990) , p. 9.
__________________________________________________________________________________________________________
6.2 ผลิตผลของการออกแบบ
ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้
หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ของผลิตผลก็ตาม
จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อนงานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน
ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตร
หรือสือ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล
(modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (courses) และหน่วย
(unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อม
เป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ
สื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย
ระดับ ต่ําสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอน และสําหรับโสดทัศนวัสดุ
เป็นระดับกลางของความซับซ้อน (Seels, and Glasgow, 1990
: 14)
สภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยหน้าที่ของการเรียนการสอน
เป็นสถานการณ์สําหรับ
การออกแบบการเรียนการสอนสิ่งนี้รวมถึงความพยายามออกแบบการเรียนการสอนในสถานการณ์
ระหว่างประเทศ การธุรกิจการอุตสาหกรรม สุขภาพและสมาคมที่ไม่มีผลประโยชน์ การเรียน
และการศึกษานอกระบบ ทั้งหมดนี้ต้องการการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งใช้
ประโยชน์จากสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยี
ความแตกต่างระหว่างสถานการณ์เหล่านี้
สามารถนําไปสู่ความแตกต่างในกระบวนการ และผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน เคอโซ
(Dorso, 1983 :2-7) กล่าวว่า มีข้อควรระวังที่
ควรจดจําสองประการสําหรับผู้ออกแบบที่จะพาตนเองออกไปจากโลกของการศึกษาสู่โลกธุรกิจการ
ให้คําปรึกษา ดังนี้ ประการแรกอาจต้องวิเคราะห์ให้มากก่อนที่จะได้ทําสัญญา
และประการหลัง อาจต้องเสนอโครงการที่ใช้งบประมาณน้อย แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามต้องการนักเพื่อที่จะแข่งขัน
ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
ผู้ที่ผันตนเองจากโลกของการศึกษาระดับสูงไปสู่ระบบโรงเรียน
ประถมและมัธยมศึกษาจําเป็นต้องรับรู้ว่าบรรทัดฐานที่แตกต่างกันหมายถึงข้อจํากัดที่แตกต่างกับด้วย
ข้อจํากัดของระเบียบแบบแผนที่ใช้ประจําสําหรับการอุดมศึกษา คือ
การผ่านมาตรฐานการรับรอง ข้อจํากัดของระเบียบแบบแผนที่ใช้ประจําโรงเรียนมัธยมศึกษา
คือ งบประมาณและค่านิยมของชุมชน
ทางเลือกของการออกแบบการเรียนการสอนหลากหลายไปตามสถานการณ์
(settings) งาน (job) และผลิตผล
(products) ดังปรากฏในภาพที่ 1 และแต่ละเซลล์ (cell)
ในภาพจะเป็นมาตรฐาน
สําหรับตําแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนและความจํากัดของตําแหน่งนั้น
7. สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา
ที่ต้องการทักษะความคิด ในระดับสูง (Nelson, Macliaro and Sherman, 1998
: 29-35) ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จําเป็นต้อง เกี่ยวข้องกับทักษะ
และความถนัดตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา วอลลิงตัน (Wallington, 1981
: 28-33) ได้ให้รายการทักษะที่จําเป็นในการปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นทักษะ ระหว่างบุคคล ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา
และทักษะในการสกัดและดูดซึม สารสนเทศ
และทําให้สิ่งเหล่านั้นอยู่ในกรอบของความมีเหตุมีผล การประยุกต์หลักการทาง
พฤติกรรมศาสตร์ และการค้นหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบในระบบ ในการพัฒนา
สมรรถภาพของการออกแบบการเรียนการสอน ผู้พัฒนาพยายามที่จะปรับปรุงความถนัดพื้นฐานใน
สาขาของตน เช่น การเขียนและการเรียบเรื่องทักษะต่างๆ
จากการทํางานอย่างต่อเนื่องในสาขาที่คนมี สมรรถภาพทางวิชาชีพนั้น
7.1
ความถนัดของบุคคล
การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความถนัด
(aptitude) ด้วย ผู้ออกแบบการเรียนการ สอนจําเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
งานการออกแบบที่ ยิ่งใหญ่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความคิดที่มีความคงเส้นคงวา
มีเหตุมีผล ในเวลาเดียวกัน นักออกแบบก็ต้องมองดูสิ่งที่เป็นเรื่องทั่วๆ ไป
และสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย อย่างไรก็ตามนักออกแบบ ต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดอย่างเต็มที่โดยคลอด
เพื่อผลิตผลที่มีคุณภาพด้วยเหมือนกัน
ผู้ออกแบบต้องมีความสนุกสนานในการทํางานด้วยแบบจําลอง
ที่นําเสนอด้วยทัศนะและ การเขียน
เพราะว่างานการออกแบบที่ดีจํานวนมากต้องอาศัยการเขียน และการเรียบเรียง
ถ้านักออกแบบไม่ชอบที่จะเขียนหรือทํางานกับทัศนวัสดุ
ก็ไม่ควรจะเป็นนักออกแบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบจําเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจภาระงาน
(task oriented) และสามารถทํางาน ร่วมกับคนอื่นให้ได้ผลิตผล
เพราะว่างานการออกแบบส่วนมากสําเร็จลงได้ด้วยการทํางานเป็นทีม
นักออกแบบจําเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความคิดกว้างไกล เปิดใจ
และสามารถที่จะยอมรับการวิพากษ์
วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ได้มีความอดทนสูงต่อข้อสงสัยของผู้อื่นที่มีต่องานของตน
กาเย่
ได้พรรณนาคุณลักษณะบุคคลของนักเทคนิคการออกแบบการเรียนการสอนไว้สาม ประเภท คือ
เจตคติหรือค่านิยม (attitude or values) ความรู้เฉพาะทาง (specialized
knowledge) และ ทักษะเชาวน์ปัญญา (intellectual
skills) หรือวิธีการ (methodologies) นักออกแบบจําเป็นต้องให้คุณค่า
กับการสังเกตที่ปรากฏชัดเป็นพื้นฐานสําหรับการกระทําและจําเป็นต้องสามารถวิเคราะห์ผลที่ได้รับ
จากการเรียนรู้และสถานการณ์การเรียนรู้
ใช้เทคนิคการวัดผลและสร้างแบบทดสอบและมีทักษะ ทางสถิติและการติดต่อสื่อสารด้วย
เมื่อบริษัทเมาเทน เบลล์ (Moutain
Bell Corporation) ต้องการที่จะพัฒนานักออกแบบ
ของตนเองจากลูกจ้างที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนบริษัทได้พิจารณาทักษะการเขียน
การพูด และการวิเคราะห์ และพบว่าทักษะเหล่านี้เป็นหน้าที่พื้นฐาน
ที่นักออกแบบการเรียนการสอนจะต้องปฏิบัติ (Maxwell and seyfer, 1984
: 8-10)
นักออกแบบจําเป็นต้องมีทักษะกระบวนการและทักษะระหว่างบุคคลควบคู่ไปกับทักษะ
การให้คําปรึกษาไม่ว่าจะเป็นสัญญาชั่วคราวในการแก้ปัญหาเฉพาะ
หรือได้รับการมอบหมายให้ดูแล ด้านการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการเรียนการสอน
บ่อยครั้งที่ต้องสวมบทบาทของการให้คําปรึกษาด้วย
ผู้ออกแบบจะถูกขอให้ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งจะต้องตัดสินใจให้ได้ว่าปัญหาการเรียน
การสอนคืออะไร มีผลกระทบต่อใคร และเกี่ยวข้องกับอะไร อย่างไร
นักออกแบบต้องสามารถทําให้ ประชาชนเชื่อถือและอาสาที่จะทํางานร่วมด้วย
นักออกแบบไม่ได้ต้องการที่จะให้การจัดการทุกอย่าง ต้องขึ้นกับตนเอง
แต่ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนทักษะ การผสมผสานของการกระตือรือร้น และความ สงบเสงี่ยม
ซึ่งเป็นคุณลักษณะของที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ ก็เป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งของนักออกแบบ
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพด้วยเหมือนกัน
7.2
ประกาศนียบัตร
เราจําเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามต้องการ
เพื่อที่จะได้ เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น สมาคมเพื่อการปฏิบัติและการเรียนการสอนแห่งชาติ
(The National Society for Performance and Instruction) และ
แผนกการพัฒนาการเรียนการสอนของสมาคมเพื่อการ สื่อสาร และเทคโนโลยีการศึกษา (The
Division of Instructional Development of Association for Educational Communication
and Technology) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งคณะกรรมการ
ดําเนินงานเพื่อสืบสวนความเป็นไปได้และความสามารถตามต้องการของการให้คํารับรอง (certifying)
นักออกแบบการเรียนการสอน
คณะกรรมการดําเนินงานได้ตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยส่งเสริมความพยายามดังกล่าวนี้
ในแต่ละ องค์กรได้มีการแสดงทัศนะตอบโต้กันถึงความต้องการประกาศนียบัตร
จนเป็นที่กระจ่างว่า ใครควร จะได้รับการรับรอง ใครควรเป็นผู้ให้การรับรอง และทําไม
อย่างไร และพฤติกรรมอะไรที่แท้จริงที่ ระบุว่าเป็นสมรรถภาพ
คณะกรรมการได้เสนอรายการของสมรรถภาพสําหรับประกาศนียบัตร ตําแหน่งการออกแบบการเรียนการสอนบางตําแหน่งไม่ได้กําหนดสมรรถภาพทั้งหมดเหล่านี้
เช่น ทักษะการวางแผนการเฝ้าระวังติดตาม (การจัดการโครงการ) หรืออีกนัยหนึ่ง
มีสมรรถภาพต่างๆ มากมายในหลายสาขาวิชา เช่น การออกแบบการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน
ซึ่งใน รายการดังกล่าวนี้ไม่ได้แนะนําไว้ และเนื่องจากว่า
สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอนมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จึงจําเป็นต้องปรับปรุงรายการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
__________________________________________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________________________________________
สมรรถภาพในการพัฒนาการเรียนการสอนและการฝึกอบรม
ผู้เชี่ยวชาญที่มีสมรรถภาพในการพัฒนาการเรียนการสอนและการฝึกอบรม
มีความสามารถ ดังต่อไปนี้คือ
1.
ตัดสินใจโครงการที่มีความเหมาะสมสําหรับการพัฒนาการเรียนการสอน
- วิเคราะห์สารสนเทศ
โดยพิจารณาศักยภาพของโครงการและตัดสินการพัฒนาการเรียน การสอนอย่างเหมาะสม
- แยกแยะความต้องการในแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนตามเงื่อนไขจากความต้องการ
การแก้ปัญหาอื่นๆ (เช่น การออกแบบงาน การพัฒนาองค์กร และอื่นๆ)
- พิจารณาความเหมาะสมของการตัดสินใจเลือกโครงการและจัดเตรียมเหตุผลของการ
ตัดสินใจ
2.ดําเนินการประเมินความต้องการจําเป็น
- พัฒนาแผนการประเมินความต้องการจําเป็น
รวมถึงการเลือกวิธีการและเครื่องมือ
- ดําเนินการประเมินความต้องการจําเป็น
และตีความผล เพื่อแนะนําการกระทําที่เหมาะสม
- พิจารณาความเหมาะสม
ความสมบูรณ์ และความถูกต้องของแผนการประเมิน ความต้องการจําเป็น และเหตุผล
3. ประเมินคุณลักษณะของผู้เรียนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- แยกความต่างระหว่างการประเมินทักษะเริ่มเข้าเรียน
(entry skills)
- การประเมินความรู้เดิมที่ต้องมีก่อน (prerequisite
assessment) และการประเมินความ ถนัด (aptitude
assessment) ระบุพิสัยของคุณลักษณะที่สัมพันธ์กันของผู้เรียนผู้รับการฝึกอบรม
และ พิจารณาวิธีการสําหรับการประเมินผล
- พัฒนาแผนสําหรับการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียนผู้รับการฝึกอบรมและนําไปใช้
พิจารณาความเหมาะสม ความเข้าใจ
และความเพียงพอของการประเมินผลคุณลักษณะของผู้เรียนผู้รับ การฝึกอบรม
4. วิเคราะห์โครงสร้างคุณลักษณะของงาน
(jobs) ภาระงาน (tasks) และเนื้อหาเลือกและใช้
ระเบียบวิธีการเพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมกับงานต่อภาระงานย่อยหรือเนื้อหา
และบอกเหตุของการเลือกด้วย
5.
เขียนคํากล่าวของผลที่ได้รับของผู้เรียน (learning outcomes)
- กล่าวถึงจุดประสงค์ที่มีความแตกต่างกันในรูปของการปฏิบัติพฤติกรรมจากเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน
เป้าประสงค์ของการจัดการ กิจกรรมของผู้เรียน และจุดประสงค์ที่
เขียนขึ้นในสไตล์อื่นๆ
- กล่าวถึงผลที่ได้รับในรูปของการปฏิบัติซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของการเรียนการสอน
พิจารณาความถูกต้องความเข้าใจ และความเหมาะสมของข้อความที่กล่าวถึงผลที่ได้รับของผู้เรียนใน
รูปของการวิเคราะห์งาน ภาระงาน และเนื้อหาวิชา และ/หรือการพิจารณาการลงความเห็นของ
ลูกความ (เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิชา คณะวิชา อื่นๆ)
6. วิเคราะห์คุณสมบัติของสถานการณ์
(สิ่งแวดล้อมทางการเรียน)
- วิเคราะห์คุณสมบัติของสถานการณ์
และตัดสินความสัมพันธ์ของทรัพยากรและ ข้อจํากัด
- พิจารณาความถูกต้อง ความเข้าใจ
และความเหมาะสมของการวิเคราะห์สถานการณ์
7.
ลําดับขั้นตอนของผลที่ได้รับของผู้เรียน
- เลือกวิธีการสําหรับลําดับชั้นของผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์
กับขั้นตอนของผลที่ได้รับ และถ้อยคํากล่าวที่มีเหตุผลสําหรับลําดับชั้น
พิจารณาความถูกต้อง ความสมบูรณ์
และความเหมาะสมของขั้นตอนของผลที่ได้รับของผู้เรียน
8. ชี้เฉพาะกลยุทธ์การเรียนการสอน
- เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เรียน
ทรัพยากรและ ข้อจํากัด ผลที่ได้รับของผู้เรียนตามความต้องการ
และสารสนเทศที่ตรงกับเรื่องอื่นๆ และถ้อยคําที่เป็น เหตุเป็นผลสําหรับการเลือก
9. ลําดับชั้นกิจกรรมของผู้เรียน
- ระบุขั้นตอนกิจกรรมที่เหมาะสมของผู้เรียน
จะทําให้ประสบความสําเร็จใจผลที่ได้รับ เฉพาะอย่าง
และถ้อยคําที่เป็นเหตุผลสําหรับขั้นตอน
- พิจารณาความเหมาะสมและความสมบูรณ์ของลําดับชั้นกิจกรรมของผู้เรียน
10.
ตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียนการสอน (สื่อ)
ที่เหมาะสมต่อกิจกรรมการเรียนการสอน
- พิจารณาความเป็นพิเศษของทรัพยากรการเรียนการสอนตามความต้องการเพื่อกลยุทธ์
การเรียนการสอนที่ขัดแย้งและผลที่ได้รับของผู้เรียน
- ประเมินทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่ซึ่งตัดสินความเหมาะสมสําหรับกลยุทธ์
การเรียนการสอนเฉพาะ และผลที่ได้รับของผู้เรียน
- ปรับทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่
- เตรียมระบุความพิเศษในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ตามต้องการ (สตอรี่บอร์ด บทเรียน หัวข้อสคริป อื่นๆ)
11. ประเมินการเรียนการสอน/การฝึกอบรม
- วางแผนและดําเนินการประเมินผลเพื่อปรับปรุง
(formative evaluation) เช่น ทดลอง เนื้อหาให้ผู้เชี่ยวชาญปรับปรุงวิเคราะห์เพื่อการพิจารณานําไปใช้
อื่นๆ
- พัฒนาพิสัยของเทคนิคการเก็บรวบรวมสารสนเทศ
(เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ สถานการณ์จําลอง และการสังเกต อื่นๆ)
12. สร้างสรรค์รายวิชา ชุดการฝึกอบรม
และระบบการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
- ตัดสินใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของรายวิชา/ชุดการฝึกอบรม/ระบบการจัดการประชุม
เชิงปฏิบัติการ และถ้อยคําที่เป็นเหตุผลสําหรับการเลือก
- พิจารณาความเหมาะสม ความเข้าใจ
และความเพียงพอของระบบการจัดการที่มีอยู่ 13.
วางแผนและเฝ้าระวังติดตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอน
- พัฒนาและติดตามแผนโครงการพัฒนาการเรียนการสอน
(รวมถึงเวลา งบประมาณ บุคลากรอื่นๆ) ที่เหมาะสมต่อธรรมชาติของโครงการและสถานการณ์
14.
สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทางทัศนะทางการพูด และทางการเรียน
15.
สาธิตพฤติกรรมที่เหมาะสมระหว่างบุคคล กระบวนการกลุ่ม และพฤติกรรมการให้ คําปรึกษา
- สาธิตพฤติกรรมระหว่างบุคคลกับปัจเจกบุคคลและกับกลุ่ม
และถ้อยคําที่มีเหตุผล สําหรับการใช้พฤติกรรมในสถานการณ์ที่กําหนดให้
- สาธิตพฤติกรรมการให้คําปรึกษากับปัจเจกบุคคลและกับกลุ่ม
และถ้อยคําที่มีเหตุผล สําหรับพฤติกรรมในสถานการณ์ที่กําหนดให้
- พิจารณาความเหมาะสมของพฤติกรรมระหว่างบุคคล
กระบวนการกลุ่ม และการให้ คําปรึกษาในสถานการณ์ที่กําหนดให้
16. ส่งเสริมการแพร่กระจาย
และการรับเอา (adoption) กระบวนการพัฒนาการเรียนการ สอนมาใช้
- เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมสําหรับส่งเสริมการแพร่กระจาย
และการรับเอากระบวนการ พัฒนาการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่กําหนดให้
และถ้อยคําที่มีเหตุผลสําหรับกลยุทธ์
ที่มา : B. Bratton,
“Professional Certificate : will It Become a Reality? "Performance and
Instruction, 23 pp, 6-7, 1984,
reported from Seels and Glasgow, Ibit., pp. 20-21.
__________________________________________________________________________________________________________
__________________________________________________________________________________________________________
การออกแบบการเรียนการสอน
มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครูผู้สอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียน การออกแบบการเรียนการสอนช่วยสนองความต้องการ
แตกต่างระหว่างบุคคล
ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันและสนับสน
ผู้เรียนเก่งไปได้เร็วสุดพรมแดนของความรู้
สําหรับผู้เรียนก็จะได้รับความสนใจอย่างทั่วถึง
แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์
การพัฒนา การนําไปใช้ และการประเมินผล
ขั้นของการออกแบบจําลองโดยทั่วไปเปลี่ยนแปลงไปตามกาล
และสิ่งที่สนับสนุนการออกแบการเรียนการสอนคือ การสํารวจวิธีการที่ใช้ในสาขาวิชา
การทบทวน ภายใน และการพัฒนาแบบทดสอบ
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีได้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อ ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาวิชา
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีบทบาทเป็นทั้งนักวิจัยการออกแบบการ เรียนการสอน (ID
researcher) และนักปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน (ID
practitioner) โดยที่
นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนสนใจศึกษาตัวแปรและพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียน
การสอน มีบทบาทเป็นผู้ชํานาญการพิเศษ (specialist) ในขณะที่นักปฏิบัติการออกแบบการเรียน
การสอนสนใจการประยุกต์งานวิจัย และทฤษฎีพัฒนาการเรียนการสอน
และวัสดุอุปกรณ์มีบทบาท เป็นผู้รู้ทั่วๆ ไป (generalist)
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนบางครั้ง ทําหน้าที่เป็นผู้ชํานาญการ
บางครั้งเป็นผู้ปฏิบัติการที่มีสรรถภาพ เป็นผู้นิเทศ เป็นผู้ชํานาญการด้าน สือ
เป็นนักเทคโนโลยีการเรียนการสอน เป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผลิตผลของการออกแบบ
การเรียนการสอน เช่น แบบการสอน ชุดการสอนรายวิชา โปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเรียนการสอน ด้วยตนเองโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน หลักสูตร
และแบบฝึกปฏิบัติ
สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้อง มีความสามารถในการคิดทั้งเชิงรูปธรรม และนามธรรม
มีความคงเส้นคงวา มีเหตุมีผล มีความถนัด มีความสนุกสนานในการทํางาน
ในการสร้างแบบจําลอง มีความสามารถในการเขียน และการเรียบเรียง มีความเข้าใจในภาระ
การทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรู้กว้างไกล ยอมรับฟัง คําวิพากษ์วิจารณ์
อดทนต่อข้อสงสัยของผู้อื่นที่มีต่องานของตน หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีเจตคติ หรือ
ค่านิยมที่ดีต่องาน มีความรู้เฉพาะทาง และมีทักษะเชาวน์ปัญญาหรือวิธีการ
รู้จักสังเกต วิเคราะห์ใช้ เทคนิคการวัดผลและสร้างแบบทดสอบ ตลอดจนมีทักษะทางสถิติและการติดต่อสื่อสาร
สรุป
ความรู้เบื้องต้นในการออกแบบการเรียนการสอน
ประกอบด้วย ความต้องการจําเป็นสําหรับการเรียนการสอน
นิยามการออกแบบการเรียนการสอน ประโยชน์ของการออกแบบการเรียน การสอน
แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป บทบาทของผู้ออกแบบการเรียน การสอน
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอนและสมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียน การสอน
ความต้องการจําเป็นของการออกแบบการเรียนการสอนหรือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียน
การสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ บรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ของผู้สอนและหลักสูตร
การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง
กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอน โดยการ วิเคราะห์สถานการณ์
หรือเงื่อนไขในการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอน
อย่างเป็นระบบเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมายโดยอาศัยความรู้จากหลายทฤษฎี เช่น
ทฤษฎี การเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร
ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
POWER POINT CLICK
POWER POINT CLICK
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น