หลักการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หน่วยที่ 1 วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากแนวคิดของนักการศึกษา
ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ จิตวิทยาการเรียนการสอน และหลักการของ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การเรียนรู้ดังกล่าวมาแล้วจะเห็นได้วาครูจะต้องใช้รูปแบบกระบวนการเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ได้การเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ การเรียนรู้จริงๆ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวมีอยู่หลากหลายวิธี ดังรูป
__________________________________________
หน่วยที่ 2
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มาตรฐานการศึกษาและแนวคิดการปฏิรูปการศึกษานั้นกำหนดให้ผู้สอนจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย
เหมาะสมกับธรรมชาติและสนองความต้องการ ความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน
ฝึกทักษะกระบวนการคิด
การจัดการการเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
มีการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
การที่ผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักการหรือวิธีการที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นนั้น
ผู้สอนจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอน วิธีการสอน
เทคนิคการสอนหรือวิธีจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ก่อนที่จะนำไปเขียนแผนการเรียนรู้
_________________________________________________________________________________
หน่วยที่ 3 เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้
ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง
ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็นแนว
ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน
เองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการ
จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้
แบบดั้งเดิมทั่วไป
_________________________________________________________________________________
หน่วยที่ 4 เทคนิคการใช้ผังกราฟฟิค
หน่วยที่ 4 เทคนิคการใช้ผังกราฟฟิค
เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
เป็นเทคนิคที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการจัดโครงสร้างความคิดล่วงหน้าตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(meaningful learning theory) ของเดวิด อูซูเบล (David P. Ausubel) นักจิตวิทยาอเมริกัน ที่เสนอการจัดโครงสร้างความคิด
หรือโครงสร้างภาพรวมล่วงหน้า (presenting first) เพื่อใช้สำหรับอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาจากตำรา
หลังจากนั้นมีแผนภาพแบบต่างๆเกิดขึ้นมากกว่า 20 ชนิด
รวมทั้งโครงสร้างภาพรวมที่นำมาใช้ทำความเข้าใจบทความที่มีความยาวมากๆ
โดยนำเสนอข้อมูลในรูปไดอะแกรม และรูปภาพต่างๆ
ทฤษฎีของอูซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา(cognitive structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร
เขาเรียกทฤษฏีนี้ว่า “ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( meaningful
verbal learning)” โดยนิยามว่า “เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน
อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ
โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างภาพรวมที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ
และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต”
_________________________________________________________________________________
หน่วยที่ 5 การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็คือการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน
โดยครูผู้สอนหรือผู้จัดการเรียนรู้พยายามหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
การสอนแบบต่าง ๆ โดยครูผู้สอนอธิบายหรือป้อนความรู้ให้ฝ่ายเดียวคงเป็นแบบอย่างหรือแนวทางที่ค่อนข้างเก่าและล้าสมัยไปแล้ว
ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้คิดสร้างความรู้ใหม่ ๆ เลย ครูผู้สอนมีความรู้แค่ไหนก็ถ่ายทอดให้แค่นั้นส่วนผู้เรียนจะได้แค่ไหนก็สุดแล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน
การเรียนการสอนก็รู้สึกเบื่อหน่ายทั้งครูผู้สอนและผู้เรียน เพราะมีขั้นตอนแบบเดิม
ๆ เก่า ๆ ภายในห้องสี่เหลี่ยมเดิม ๆ แต่ในปัจจุบนนี้หมดยุคสมัยดังกล่าวแลว้ ครูพันธ์ใหม่และนักเรียนพันธ์ใหม่
ต้องร่วมกันเรียนรู้พร้อมกันคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลก ๆ ใหม่ร่วมกันร่วมคิดร่วมเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ
แต่ก่อนอื่นจะต้องมาเรียนรู้กันก่อนว่า การออกแบบและการวางแผนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีกระบวนการขั้นตอนอย่างไร จะไดนำวิธีการ หลักการ และแนวคิดไปประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับตัวครูผู้สอน
และตัวผู้เรียนต่อไป
_________________________________________________________________________________
หน่วยที่ 6 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย
ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง
ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก
การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง
มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า
(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
และเมื่อพิจารณาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนโดยปกติที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้น
_________________________________________________________________________________
หน่วยที่ 7 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542ในมาตรา 42 ถือ
ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วย
สมอง ด้วยกาย และด้วยใจ
สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการเรียนการส อน
เน้นการปฏิบัติจริง สามารถทำงานเป็นทีมได้(สมศักดิ์, 2543)
POWER POINT CLICK
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น