คำว่าสื่อ (medium
หรือ Media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก
การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตำราเทป วีดีทัศน์ ภาพยนตร์
และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาละติน
หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle)
หรือเครื่องมือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชนเป็นพาหะของการโฆษณา
( Guralninkjv07,1970) ดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้วสื่อจึงหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับเช่นวิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพวัสดุฉาย สิ่งพิมพ์
และสิ่งดังกล่าวนี้เมื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเรา เรียกว่า สื่อการเรียนการสอน
มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจำกัดการเลือกซื้อของตนเอง
เพราะว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้วเช่น
การพิจารณานโยบายงบประมาณสิ่งที่จะกล่าวต่อไปไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ในอุดมคติเท่านั้น
การเลือกสื่อ
ควรจะได้มีการกระทำหลังจากได้มีการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้วในสถานการณ์เช่นนี้
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกสื่อที่เหมาะสมเพื่อการสื่อสารเหตุการณ์ต่างๆในการเรียนการสอน
กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันและควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้วแบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อนโรเบิร์ต
เมเจอร์ ( Robert Mager) (Knirk and Gustafson,1986
: 1969) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอนเพื่อการค้าที่จะประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า
กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก
นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำมาจากอย่างอื่นวัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ
สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่าง ของแบบจำลองง่ายๆสำหรับการเลือกสื่อส่วนใหญ่
ส่วนแบบจำลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหารก็คืออย่าโง่เลยทำให้ดูง่ายๆเถอะ
(KISS : Keep It Simple, stupid)
การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนความเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพง่ายแก่การเข้าใจ
สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและบ่อยครั้งที่สุดได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกต้องที่สุดที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผลอย่างไรก็ตามข้อความจำกัดคือการสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ
หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์
ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
กระบวนการผลิตสื่อ
นักออกแบบอาจจะทำเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆครั้งอาจจะผลิตวัสดุ (Solfware)
สำหรับจำหน่ายความจำกัดสำหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธี/สื่อ
จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการ หลายวิธี ในการจำแนกประเภทของสื่อ
ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมถฝภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ
(Seels and Glasglow, 1990 : 179)ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ
3 ประเภทคือ วิธีการ สื่อดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่ภายในแต่ละประเภทจะมีการเลือกและรูปแบบมากมาย
เช่น กราฟฟิก และฟิล์มหรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลายรูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ
การ์ตูน และภาพประกอบการเลือกวิธีการ/สื่อ
อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความเหมาะสมสำหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจำกัดคุณลักษณะของผู้เรียนจุดประสงค์
สถานการณ์การเรียนรู้
และข้อจำกัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือกวิธีการและสื่อหลังจากนั้นที่ได้มีการระบุวิธีการ/สื่อแล้วผู้ออกแบบต้องแสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้หรือนำมาปรับใช้ได้ถ้าสื่อเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้องผลิตสื่อขึ้นเอง
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อ
ทีมในการผลิตควรจะประกอบด้วยใครบ้าง
ผู้ออกแบบต้องริเริ่มเฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต
เป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตามการผลิต
บทบาทของผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจในระยะนี้ผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการสื่อเช่นเดียวกับตำรวจที่มองเห็นว่าคำแนะนำในการออกแบบการเรียนการสอนนำไปใช้ได้
หรือเป็นเหมือนผู้จัดการผู้ซึ่งริเริ่ม และประเมินผลผลิต
ในบทนี้จะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็นการเลือกวิธีการสื่อที่มีประโยชน์เราจะเลือกสื่ออย่างไร
จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะริเริ่มและต้นระหว่างกระบวนการผลิตอย่างไร
ผู้ออกแบบต้องจำกัดบทบาทในการทำหน้าที่
ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพ
ต้องรับรู้การกระทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วย
และเป็นการท้าทายสำหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้
โดยลำพังตนเองแล้วไม่สามารถที่จะผลิตสื่อได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคำแนะนำเพิ่มจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทำคนเดียว
ความรับผิดชอบที่จำเป็นคือ
การตัดสินใจเลือกวิธีการสืบในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นำทีมเริ่มหรือแนะนำกระบวนการผลิต
ผู้ออกแบบจะทำในสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทำหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัย ผู้เขียนสคริป
ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้เรียบเรียง
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยผลิตหรือไม่เคยช่วยเรียบเรียงแต่หมายความว่า
รับรู้หน้าที่ในการให้คำแนะนำและจำกัดทักษะตัวอย่างเช่น
มีการพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมากขึ้น
และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าทักษะด้านการถ่ายภาพ
ประเภทของสื่อ
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดหวังจะเกิดขึ้นได้
ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น
ผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม
เราสามารถจำแนกสื่อได้ 4 ประเภท คือ สื่อทางหู (Audio) สื่อทางตา (Visual) สื่อทางหู และทางตารวมกัน(audio-visual)
และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ
สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4
ประเภทในตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
1. สื่อทางหู
ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป
แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา
ได้แก่ กระดานชอล์ค กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัสดุต่างๆที่เป็นของจริง
รูปภาพ แผนภูมิ กราฟถ่ายภาพ ผมสำรอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส
3.
สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม
ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นอื่นเช่น ดิจิตอล วีดิโอ อินเตอร์เน็ตแอคทิฟเทคโนโลยี (digital
vedio interactive technology)
4.
สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลองกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล
เอดการ์ เดล (Edgar
Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง
ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้
และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner
ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็
“กรวยประสบการณ์” (Cone
of Experiencess)
โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง
โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น
เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด
ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา
และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม
เป็นต้น
4) การสาธิต
เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง
ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ
เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม
โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์
โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8) ภาพยนตร์
เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง
วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์
ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10) ทัศนสัญลักษณ์
เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11) วจนสัญลักษณ์
ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน
แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตุในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง
ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ
และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับพนักงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท
จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจัดประเภทของสื่อสำคัญ 4 ประเภทและ
แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
1. เทป
ข้อดี
จูงใจใช้กับกลุ่มใหญ่ได้
ใช้ได้ทั้งที่บ้านที่ทำงานและในชั้นเรียนสามารถก๊อปปี้ได้ง่ายในการเก็บรักษา
ข้อเสีย
ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีการให้ผลป้อนกลับในการเรียนการสอน
ใช้เวลาในการกรอเทปกลับสามารถถูกทำลายฉีกขาดเสียหายได้ หน่วยที่จะกรอเทปกับอาจจะไม่ว่าง
2. คำแนะนำของผู้ฝึก
ข้อดี
เผชิญหน้ากัน ให้ผลป้อนกลับที่ดีกว่า
ข้อเสีย
ไม่เห็นหน้ากัน ต้องการทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น
3. โทรทัศน์
ข้อดี
ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง เป็นระบบไปรษณีย์ที่สั้นๆ
ข้อเสีย
สิ้นเปลืองเครื่องมือพังโทรทัศน์วัสดุ
4. ภาพพลิก (Flip
Charts)
ข้อดี
ราคาถูกเก็บ สารสนเทศได้ เคลื่อนย้ายได้ เปลี่ยนสารสนเทศได้ เช่น การพิมพ์นำเสนอบทเรียนได้
ไม่จำกัดว่าใช้กับคนคนเดียว
ข้อเสีย
ครูจำเป็นต้องนำเสนอด้วยการเขียนที่สวยงาม จำกัดขนาด สารสนเทศมากเกินไปกินเวลานานมาก
ยากที่จะแสดงทรรศนะ
5. สิ่งที่ครูแจก
ข้อดี
ราคาถูก เป็นการอ้างอิงที่ถาวร
ช่วยในการทบทวน จดจำ ช่วยนักเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียนให้การอ้างอิงที่ค้นคว้าได้ในห้องสมุด
นำไปสู่พัฒนาการก้าวต่อไปของนักเรียน เป็นข้อแนะนำในการศึกษา
ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม ใช้ได้กับนักเรียนทุกคน เช่น ภาษา
ระยะทางและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปให้เห็นภาพทั้งหมดได้ ราคาอาจแพง
ข้อเสีย
กราฟิก 2 มิติ นักเรียนอาจไม่ได้รับการบังคับให้อ่าน
ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบเฉื่อยชา สารสนเทศล้าสมัย
6. กระดานคำพื้นฐานและกระดานขาวตายตัว
ข้อดี
ให้เห็นสารสนเทศที่ลอกได้ เห็นได้ ราคาถูก ให้สีหลักรายได้
ยอมให้กลุ่มมีส่วนร่วมได้ขั้นตอนมีเหตุมีผล สามารถเปลี่ยนแปลงได้
จำกัดขนาดของปากกา
ข้อเสีย
ทำให้เลอะเทอะ ใช้เวลามากในการเขียน บางคนเขียนไม่สวย สองมิติ
สารสนเทศไม่สัมพันธ์กัน สารสนเทศขาดตอนได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
7. กระดานขาวและกระดานดำที่ตายตัว
ข้อดี
ให้ข้อมูลที่กว้างขวาง ยอมให้เก็บข้อมูลเชิงตรรกะได้
ยอมให้มีการเก็บสารสนเทศที่มีเหตุผล ยอมให้เขียนสารสนเทศไว้ก่อนได้
ซ่อนและโยงความสัมพันธ์ของสารสนเทศได้
ผู้สอน/นักเรียนช่วยกันให้ความคิดสารสนเทศได้
ข้อเสีย
ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
8. กระดานคำที่ใช้แม่เหล็ก Megnetic
or Felt Board
ข้อดี
เครื่องย้ายแบบจำลองได้ สร้างสารสนเทศใหม่ได้
ข้อเสีย
ไม่ใช่ของจริง กำจัดกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
9. การผสมผสานระหว่างกระดานตายตัวต่างๆ
(Fexed
Board to the above)
ข้อดี
เครื่องย้ายแบบจำลองได้ สร้างสารสนเทศใหม่ได้ ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ
จัดการจัดห้องเรียน
ข้อเสีย
นักเรียนสามารถมองได้เพียงด้านเดียว
10. การสาธิต (Demonstration)
ข้อดี
ประหยัดเวลาและการพูด ง่ายในการเฝ้าดูมากกว่าการฟัง เห็นของจริง
ข้อเสีย
มาตรฐานการสาธิต
ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ นักเรียนไม่มีส่วนร่วม นักเรียนอาจไม่รู้ว่าต้องสังเกตอะไร
นักเรียนอาจมีความเข้าใจช้าหรือไม่เข้าใจเลย
11. สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
ข้อดี
การเสริมแรงบ่อยครั้ง
ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบว่องไว นักเรียนประสบความสำเร็จมีปฏิสัมพันธ์กับสื่ออื่นๆ
ผิดพลาดน้อย
ข้อเสีย
ถ้าปราศจากการออกแบบที่ดีก็จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย
หนึ่งร้อยชั่วโมงที่ใช้ในการออกแบบผลิตงานได้เพียงหนึ่งชั่วโมง เสียค่าใช้จ่ายสูง
ทักษะที่จะใช้คีย์บอร์ดนักเรียนต้องพัฒนาเอง ไม่ได้เหมาะกับนักเรียนทุกคน
โสตทัศนะ
1. ฟิล์ม/วีดิโอ (Film/Video)
ข้อดี
สามารถแสดงพัฒนาการของวิธีการหรือการปฏิบัติ
ผสมผสานทัศนะคำพูดและเสียงอื่นเข้าด้วยกัน เปลี่ยนเวลาได้ สนุกสนาน จูงใจ
ข้อเสีย
นักเรียนไม่มีส่วนร่วม แพง โดยทั่วไปสร้างจากจุดประสงค์ของคนอื่น
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมพร้อมกัน
ในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan
laird:180) เปรียบเทียบวิธีการเป็นเหมือนทางหลวง (Highway) ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก)
เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม (accessories)บนทางหลวง เช่น สัญญาณ
แผนที่ ซึ่งจะทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
วิธีการ
เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน
จอยส์และวีล (Joyce and Weil,1980)
เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจำลองการสอน (Model of teaching) แบบจำลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนเมื่อป่วยที่เป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
ออซูเบล(Ausubel,1968) กล่าวว่า มีความแตกต่างระหว่างวิธีการสำคัญ 2 วิธี คือ
การเรียนรู้เพื่อค้นพบ ( Diacovery leaning) รายการเรียนรู้เพื่อรับความคิด
(Reception leaning)
1.
การเรียนรู้เพื่อรับความคิดคือ การเรียนรู้จากการบรรยาย
หรือการเรียนรู้จักโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ
2.
การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสำรวจ
และไม่ได้กำหนดจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า
การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและการรับรู้ที่มากไปกว่าการที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร
นักเรียนจะได้รับคำแนะนำซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบ ออซูเบลเชื่อว่าวิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย
ผู้ออกแบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย
การอ่านการทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต บทเรียนสําเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมุติ
การศึกษาด้วยตนเองและสถานการณ์จำลอง วิธีเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมายการบรรยายอาจจะเป็นบทละคร
เป็นการนำเสนอด้วยโสตทัศนูปกรณ์ การอภิปรายมีหลายรูปแบบ การสนทนาถกเถียงปัญหา
การประชุมโต้ตอบกัน รายการระดมสมอง
กรณีศึกษามีหลากหลายจากกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่งถึงการแก้ปัญหาและเช่นเดียวกับบทบาทสมมุติเป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จำลอง
บทเรียนสำเร็จรูปต้องอาศัย คำตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆ
และให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างทันทีทันใดและสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด
หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรมอาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา
หรือบางกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบสถานการณ์จำลอง
การสาธิตสามารถนำเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายการศึกษาด้วยตัวเอง
ทำให้ด้วยการใช้ module ใช้ชุดของสื่อ ใช้วิธีการติวด้วยอุปกรณ์โสต
การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน ( mode
of delivery)จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น
ในป่าเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์(Hardware)และส่วนที่เป็นวัสดุ(Software)สำหรับการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำได้ก่อนทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกันกับการการตกลงเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆไปแล้ว
จะทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกัน
การบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของสื่อของโปรแกรมโทรทัศน์ในสมัยก่อนวัสดุประกอบส่วนใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ
ออกเป็น 3 ประเภทคือ วิธีการ(methods) สื่อดั้งเดิม
(traditional media)และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer
technology) ในด้านวิธีการดำเนินหลักสูตรโดยทั่วไปซึ่งอาจจะรวมรวมกัน
แต่จะใช้สื่อรวมรวมกันส่วนสื่อเดิมจะรวมถึงงานพิมพ์และสื่อโสตทัศน์
และสำหรับเทคโนโลยีใหม่คือการสื่อสารโทรคมนาคมและไมโครโปรเซสเซอร์ (microprpcessor)สื่อ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์(print
materials)ทัศนวัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศนวัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio
media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์
(films) และโทรทัศน์ (television ) สื่อแต่ละประเภทเหล่านี้สามารถแสดงออกให้เลือกได้หลากหลายรูปแบบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีใหม่ประกอบด้วย
การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based
instrction) และการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน
(telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง
เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆ
ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนคือ
กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
การเลือกสื่อมีกฏอยู่
6 ข้อ
หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจอย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1
การเรียนการสอนโดยทั่วไป แล้วต้องการสื่อสองทาง (Two way
medium)นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสื่อการเรียนการสอน
ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2
สื่อทางเดียว (one- way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน
โดยสื่อที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับ คือ ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า
เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
กฎที่ 3
การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้เรียน
ที่เรียนเช้า
อาจจะต้องการสื่อการเรียนการสอนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษเช่นการฝึกเสริม
ตัวอย่างการฝึกเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการอยากแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล
โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎที่ 4
การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ
ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหมจำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์
วีดีทัศน์ การสาธิตของจริง )มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
กฎที่ 5
พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน
ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน
หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง
ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องทำการตัดไหมตามที่เห็นในวีดีทัศน์
ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมเทียมหรือตัดใหม่จริงๆ
กฎที่ 6
เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆอาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน
ตัวอย่างทฤษฎีที่อยู่บนหลักของวิธีการทำหมัน
อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม
อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า
ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
ไม่มีการเรียนรู้กฎซึ่งจำเป็นในการพิจารณา
เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกซื้อ
แบบจำลองการเลือกสื่อ
แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ
สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่แตกต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ
แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง
แต่ละแบบจำลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออเลน
ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม
ออเลน (William
allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ในการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์
ออเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผลสื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ด้วยเหตุนี้ ออเลน
ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง
ต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้
เมื่อใช้แบบจำลองนี้ผู้ออกแบบความพยายามหลีกเลี่ยงสืบให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกับชนิดของการเรียนรู้(allen,1967 : 27-31)
อย่างไรก็ตามถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำหรือปานกลาง
ผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจำกัด
วิธีการที่แสดงด้วยภาพ
สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบจุดประสงค์
และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
(Gerlanch
and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปีค. ศ. 1971
ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี
ได้นำเสนอเกณฑ์ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน(behaviors)
แล้วเกมดังกล่าวประกอบด้วย ประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา
(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของวัตถุประสงค์หรือไม่)
ประการที่สองระดับความเข้าใจ (สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม ประการที่ 3 ราคา
ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่
5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่)
(Gerlach and Ely,1980)
สรุป
สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ
ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น
และยังช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้น
ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ต่อการเรียนการสอนนั้น
ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน
รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ
วัสดุอุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
POWEP POINT CLICK
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
POWEP POINT CLICK
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น