ความหมาย
กระบวนการของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ และการสอน
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ สภาพปัจจุบัน
และปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในประเทศไทย การวิเคราะห์ผู้เรียน
และวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนร่วม
การพัฒนา และเลือกใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ การวัด
และประเมินผลตามสภาพจริงและเทคนิควิทยาการการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ในระดับต่างๆ
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและ สภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน
๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่างๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและวิชาชีพครู โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
๔. เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ และการเลือกสื่อนวัตกรรมเพื่อการ เรียนรู้และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ การจัดแผนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่างๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและวิชาชีพครู โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
๔. เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ และการเลือกสื่อนวัตกรรมเพื่อการ เรียนรู้และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ การจัดแผนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความรู้พื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอน
คุณภาพของนักเรียนเป็นผลที่เกิดจากคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของครู
คุณภาพ ของการจัดการเรียนการสอนมาจากความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนและการวางแผน
การเรียนการสอนที่ออกแบบไว้ดีแล้วไปใช้กับนักเรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งหวังผลการเรียนรู้ จึงมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามยถากรรมหรือโดยความบังเอิญ
แต่ต้องอาศัยการออกแบบการเรียนการสอน เป็นอย่างดี
การออกแบบการเรียนการสอนจึงเป็นสมรรถภาพที่สำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพครูในบทนี้
จะได้กล่าวถึงความเป็นมาและความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการออกแบบ การเรียนการสอน
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ของหลักสูตรและการออกแบบ
การเรียนการสอน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบการเรียนการสอน
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการวิจัยและพัฒนาสื่อที่ใช้สำหรับฝึกอบรมกำลังคนที่ทำงานในด้านต่าง
ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมามีความตื่นตัวในการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมทำให้งานด้านการออกแบบการเรียนการสอนเป็นงานที่ได้รับความสนใจมากขึ้น
ผู้ที่ทำงานในด้านการออกแบบการเรียนการสอนในช่วงปี ค.ศ. 1970 ได้แก่ บุคคลที่เรียกตัวเองว่า นักจิตวิทยาการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ
หรือนักออกแบบการฝึกอบรม
คำว่า “การออกแบบ การเรียนการสอน” เพิ่งจะนำมาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1980 และเริ่มต้นในภาคเอกชนที่อยู่ในสายธุรกิจและอุตสาหกรรม
ก่อนที่จะเข้ามาสู่ภาครัฐ เช่น ในงานด้านการสาธารณสุข การศึกษาและการทหาร
สำหรับประเทศไทย คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เป็นคำที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงของ
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก (พ.ศ. 2540-2550) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
โดยคุรุสภา (2556) ได้กำหนดให้การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นมาตรฐานความรู้และประสบการณ์
วิชาชีพของครูจะเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้มีความสำคัญมากขึ้น
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งการศึกษาของไทยและสากล
การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย
และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
1. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนนี้เพื่อใคร
ใครเป็นผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและรู้จักลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการเรียนอีเลิร์นนิง
2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนอะไร
มีความรู้ความเข้าใจ และ/หรือ มีความสามารถอะไร ผู้สอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนให้ชัดเจน
3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชานั้น
ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร
ควรใช้วิธีการและกิจกรรมการเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้
และมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
4. เมื่อผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียน
จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้เกิดขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
จะใช้วิธีใดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
สรุปได้ว่า
การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใคร
มีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร
จะใช้วิธีการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้
และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือ
ภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เป็นต้น
ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมาย และการประเมิน
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.https://sites.google.com/site/elearning257/kar-xxkbaeb-kar-reiyn-kar-sxn-instructional-design
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น