วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 9 บทที่ 4 กลยุทธ์การเรียนการสอน

กลยุทธ์การเรียนการสอน
กลยุทธ์การสอน คือ วิธีการสอนที่ใช้เทคนิคการสอนมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ
เทคนิคการสอน เป็นวิธีการเสริมที่จะช่วยให้วิธีการสอนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นและสรุปเป็นสมการได้ดังนี้
กลยุทธ์การสอน = วิธีการสอน + เทคนิคการสอน
1.สภาวะการเรียนการสอนพื้นฐานแบบปกติ
การลำดับจุดประสงค์ปละการสร้างแบบทดสอบเพื่อการออกแบบสภาวการณ์ของกาเรียนรู้ต่างๆที่จะทำให้สำเร็จตามจุดประสงค์
2. ความต้องการของทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นสิ่งจำเป็นที่ผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง การพัฒนาการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่ ละเลย และเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนแล้ว ทฤษฎีการสอนเกือบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานการเขียนทางทฤษฎีขอนักจิวิทยาครูต้องรู้ว่าจะจัดการกับพฤติกรรมของตนเองซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติผู้เรียนจิตวิทยา การศึกษาแสดงความข้องใจว่า ได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียน แต่ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การสอนและได้ตั้งคําถามเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของการสอนแบบสืบสวน ซึ่งรวมอยู่ในทฤษฎีการ เรียนการสอนด้วย
3. ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มี ประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสําเร็จในความรู้หรือทักษะ ทุกทฤษฎีจะมี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สําหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสําคัญสี่ประการ คือ
ประการแรก ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคล ให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อ เกิดความพร้อมที่สุดสําหรับผู้เรียน
ประการที่สาม ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ นำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
ประการที่สี่ ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและ การลงโทษ
4. ทฤษฎีการเรียนการสอน
พบได้ในทฤษฎีการเรียนรู้ของโบเวอร์และฮิลการ์ด โดยกำหนดเงื่อนไขการเรียนการสอนซึ่งทำให้เกิดเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด ทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอนมีความคล้ายคลึงกันกับทฤษฎีการเรียนการสอน แต่เน้นไปที่กระบวนการพัฒนาการเรียน การสอนที่กว้างกว่า ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง สี่ทฤษฎี ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน
ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอน  9  ประการได้แก่
1)  เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) 
2)  บอกวัตถุประสงค์  
3)  ทบทวนความรู้เดิม
4)  นำเสนอเนื้อหาใหม่
5)  ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
6)  กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
7)  ให้ข้อมูลย้อนกลับ  
8)  ทดสอบความรู้ใหม่
9)  สรุปและนำไปใช้
ทฤษฎีการสอนของเมอร์ริลไรเกลท (Merrill - Reigelath)
แสดงทัศนะว่าการสอนเป็นกระบวนการที่เสนอเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและต่อเนื่อง ดังนี้
2.1 เลือกหัวข้อปฏิบัติทั้งหลายที่จะสอนด้วยการวิเคราะห์ภารกิจ
2.2 ตัดสินใจว่าจะสอนข้อภารกิจใดเป็นอันดับแรก
2.3 จัดลำดับก่อนหลังของข้อภารกิจที่เหลือ
2.4 ชี้บ่งเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ
2.5 จัดเนื้อหาเข้าบทเรียนและจัดลำดับบทเรียน
2.6 จัดลำดับการสอนภายในบทเรียนต่าง ๆ
2.7 ออกแบบการสอนในแต่ละบทเรียน
ทฤษฎีการสอนของเคส (Case)
ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa)
เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้
5. หลักการเรียนรู้
การเรียนการสอนเป็นการกระทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์ โยงการเรียนรู้ใหม่เข้ากับการเรียนรู้เดิม
การแนะนำบทเรียน
ทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียนและเตรียมความพร้อมไปสู่การฝึกปฏิบัติ
การนำเสนอเนื้อหาใหม่
การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่
การฝึกปฏิบัติ
การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นานและให้ความสะดวกในการระลึกได้
การปฏิบัติที่เปิดเผยหรือไม่เปิดเผย
การสนองแบบเปิดเผยเช่น การเขียนคำตอบ การตอบสนองแบบไม่เปิดเผยเช่น การคิดคำตอบ
ตารางการฝึกปฏิบัติ
การฝึกไม่ควรมากในช่วงเวลาเดียว การฝึกควรกระจายไปตามช่วงเวลาทั้งหมดและมีช่วงพักระหว่างเวลาด้วย
การปฏิบัติเชิงเปลี่ยนแปลง
การฝึกปฏิบัติที่ค่อยเป็นค่อยไปเริ่มจากง่ายไปหายาก
6. การวิจัยการเรียนรู้
 การศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ด้วยการตั้งคำถามลึก
7. การเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
การปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการคือ
1. ความสามารถของผู้เรียน
2. แรงจูงใจ
3. ธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้
8. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเรียนรู้มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข
9.รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ผู้เรียนมีสไตล์การเรียนรู้เป็นของตัวเองขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนถนัดด้านไหนมากกว่า การเรียนรู้ตามที่ถนัดทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนานและมีส่วนร่วมพัฒนาความสามารถในด้านที่มาถนัดอีกด้วย
POWER POINT CLICK 
 อ้างอิง

ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.  วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น