วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 4 บทที่ 2 วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หน่วยที่ 4-7



4. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

     ปัจจุบันสังคมไทยมีกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนส่งผลให้ เกิดวิกฤตการณ์หลายรูปแบบขึ้นในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังส่งผลให้เกิดกระแสเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาขึ้นเพื่อให้การศึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง เป้าหมายของการจัดการศึกษาจะต้องมุ่งสร้างสรรค์สังคมให้มีลักษณะที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนา ประเทศชาติโดยรวม มุ่งสร้างคนหรือผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตโดยตรงให้มีคุณลักษณะที่มีศักย และความสามารถที่จะพัฒนาตนเองและสังคมไปสู่ความสําเร็จได้

     การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ คือ วิธีการสําคัญที่สามารถสร้าง และ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการ สอนที่ให้ความสําคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับ ความสามารถและความต้องการของตนเอง และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิด การจัดการศึกษานี้ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษา และทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล

     1. ความหมายการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียน สร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อํานวยความสะดวกจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความ สนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลาย วิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้น การวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2550)

     2. หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามี เป้าหมายสําคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเอง สูงสุด ตามกําลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้าน ความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะใช้ ในการเรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับ สติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสม ในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสําคัญในกลไกของการ จัดการนี้คือ ผู้สอน แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของ ผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ผู้สอนยังแสดงบทบาทและทําหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทําความ เข้าใจ ซึ่งนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป

     การทบทวนบทบาทของผู้สอน ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่าแก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้งมาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสําคัญ ผู้สอนต้องคํานึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสําคัญ ถ้าจะเปรียบการทํางาน อาจารย์ผู้สอน) กับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บ้าบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่ว การวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบําบัดด้วยการ หรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่แตกต่างกันวิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บําบัดรักษาผู้ป่วยทอด เหมือนๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทํานองเดียวกันผู้สอน ก็จําเป็นต้อง ความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่ และจากข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษา ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นําสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทําให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผู้สอนจึง ต้องหันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้ การ ได้นําสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ จึงมีสาระที่สําคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคํานึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นําเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดําเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพ สูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้

     การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ หรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่าการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered หรือ Child Centered) เป็นรูปแบบการจัด การเรียนการสอนที่รู้จักกันมานานในวงการศึกษาไทยแต่ไม่ประสบความสําเร็จในการปฏิบัติ รวมกับ ความเคยชินที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Centered) มาตลอด เมื่อผู้สอนเคยชินกับการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ที่เคยรู้จัก จึงทํา ให้ไม่ประสบความสําเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญเท่าที่ควร แต่ในยุคของ การปฏิรูปการศึกษานี้ได้มีการกําหนดเป็นกฎหมายแล้วว่า ผู้สอนทุกคนจะต้องใช้รูปแบบการจัดการ เรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญได้ จึงเป็นความจําเป็นที่ผู้สอนทุกคนจะต้องให้ความสนใจกับ รายละเอียดในส่วนนี้ โดยการศึกษาทําความเข้าใจ และหาแนวทางมาใช้ในการปฏิบัติงานของตนให้ ประสบผลสําเร็จ

     ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อจัด สถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพผู้สอนจึงมีความจําเป็นที่จะต้องรู้จัก ผู้เรียนให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปเป็นพื้นฐานการออกแบบ หรือวางแผนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน สําหรับในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบการเรียนรู้อ ทําได้หลายวิธีการและหลายเทคนิค แต่มีข้อควรคํานึงว่า ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละคร? ได้เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่

     1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจในเนื้อหาสาระที่สนใจเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนหรือไม่
     2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิดได้รวบรวมความรู้และ ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองหรือไม่ ซึ่งทิศนาแขมมณี (2547) ได้นําเสนอแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสามารถนําไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ ดังนี้
          2.1 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย (Physical Pricยนn) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการ เรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นการรับรู้เป็นปัจจัยสําคัญ ในการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ดังจะเห็นได้ว่า ถ้าปล่อยให้ผู้เรียนนั่งนานๆ ในไม่ช้าผู้เรียนก็จะหลับหรือคิดเรื่องอื่นๆ แต่ถ้าให้มีการ เคลื่อนไหวทางกายบ้างก็จะทําให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัวและพร้อมที่จะรับและเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวใน ลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
          2.2 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญาต้องเป็นกิจกรรม ที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหวต้องเป็นเรื่องที่ ไม่ยากหรือง่ายเกินไปทําให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด
          2.3 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจาก มนุษย์จําเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะมนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสภาพแวดล้อม ต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านสังคม
          2.4 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้น เกิดความหมายต่อตนเองโดยกิจกรรมดังกล่าวควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง โดยปกติการมีส่วนร่วม ทางอารมณ์นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการกระทําอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น กิจกรรมทางกาย สติปัญญาและสังคม ทุกครั้งที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเคลื่อนที่เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรม ผู้เรียนจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกอาจ เป็นความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ

     การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญสามารถใช้ได้กับการจัดการ เรียนการสอนทุกวิชาเพียงแต่ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาที่ต่างกันจะมีลักษณะที่เอื้ออํานวยให้ผู้สอน ออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ในจุดเด่นที่ต่างกัน คือ
     1.รายวิชาที่มีเนื้อหามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์และการนําเอากฎเกณฑ์ไปประยุกง แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ หรือการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ผู้สอน ใช้กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย และ โอกาสให้ผู้เรียนได้นํากฎเกณฑ์ที่ทําความเข้าใจได้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้ระ สอนแบบนิรนัย การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนเพราะผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตัว
     2. รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลองและ อภิปรายโดยใช้หลักเหตุผล เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างความรู้เอง เพียงแต่ผู้สอนต้องรู้จักการใช้คําถามที่ยั่วยุและเชื่อมโยงความคิด ประกอบกับการได้มีโอกาส ทดลองเป็นการปฏิบัติร่วมกัน ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสร้างคา ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ทํากันมาอยู่แล้ว
     3. รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับการดําเนินชีวิต คนในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุให้ออกความคิดเห็นได้เช่น วิชาสังคม ศึกษาและวรรณคดีเป็นลักษณะพิเศษที่ผู้สอนจะนํามาใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดกิจกรรมการใช้ความคิด อภิปราย นําไปสู่ข้อสรุป เป็นผลของการเรียนรู้และการสร้างนิสัยยอมรับฟังความคิดเห็นกัน เป็นวิถีทางที่ดีในการปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน
     4. รายวิชาที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นหลัก เช่น วิชาพลศึกษาและการงาน อาชีพ ผู้สอนควรใช้โอกาสดังกล่าว ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทํางาน
     5. รายวิชาที่ส่งเสริมความคิดจินตนาการ และการสร้างสุนทรียภาพ เช่นวิชาศิลปะและ คนตรี นอกจากจะมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ผู้เรียนยังมีโอกาสได้สร้างความรู้และความรู้สึกที่ดี ผ่านกระบวนทํางานที่ผู้สอนออกแบบไว้ให้
     ผู้สอนที่ประสบความสําเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมักเป็น ผู้สอนที่มีความตั้งใจและสนุกในการทํางานสอน เป็นคนช่างสังเกตและเอาใจใส่ผู้เรียนและมักจะ ได้ผลการตอบสนองที่ดีจากผู้เรียน แม้จะยังไม่มากในจุดเริ่มต้น แต่เมื่อปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอก็จะ สังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น

     สรุปได้ว่าการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญนี้ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไปคือ
          1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้บทบาทของ ผู้สอนคือผู้สนับสนุน (Supporter) และเป็นแหล่งความรู้ Resource Person) ของผู้เรียน ผู้เรียน รับผิดชอบตั้งแต่เลือก และวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียนหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกและจะเริ่มต้น การเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้ารับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ ตนเอง
          2. เนื้อหาวิชามีความสําคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ในการออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ ปัจจัยสําคัญที่จะต้องนํามาพิจารณาประกอบด้วย ได้แก่ เนื้อหาวิชาประสบการณ์เดิมและ ความต้องการของผู้เรียน การเรียนรู้ที่สําคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ ใช้สอน (เทคนิคการสอน)
          3. การเรียนรู้จะประสบผลสําเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ได้ทํางาน ร่วมกันกับเพื่อนๆ ได้ค้นพบข้อคําถามและคําตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ประเด็นที่ท้าทายและ ความสามารถในเรื่องใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นรวมทั้งการบรรลุผลสําเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
         4. สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน การมีสัมพันธภาพในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญ งอกงามการพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่การปรับปรุงการทํางานและการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในกลุ่มจึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและ กันของผู้เรียน
         5. ผู้สอนคือผู้อํานวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการเรียนการสอน แบบเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ผู้สอนจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียน และสามารถค้นคว้าหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สําคัญที่สุดคือความเต็มใจของผู้สอนที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ผู้สอนจะให้ทุกอย่าง แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝนโดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่ รับการให้นั้นก็ได้
         6. ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม การจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจ ในตนเอง และควบคุมตนเองได้มากขึ้นสามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็นมีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น
         7.การศึกษา คือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกัน ไปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ ด้านเช่นคุณลักษณะด้าน ความรู้ ความคิด ด้านการปฏิบัติ และด้านอารมณ์ ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

     3. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และ มีความสุขซึ่งจําเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

     3.1 การบริหารจัดการ
          การบริหารจัดการนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียน สําคัญโดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่เน้นการพัฒนาทั้งระบบการพัฒนาทั้งระบบของ มหาวิทยาลัย หมายถึงการดําเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันตน คุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกําหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบ ของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
          1. การกําหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มีจุดเน้นการคุณภาพบัณฑิตอย่างชัดเจน
          2. การกําหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย
          3. การกําหนดแผนการดําเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกัน เป้าหมายและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
          4. การจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน
          5. การจัดทํารายงานประจําปีเพื่อรายงานผู้เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการ ประกันคุณภาพจากภายนอก

     3.2 การจัดการเรียนรู้
          องค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วยความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียนการจัดการเรียน การสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสําคัญจะทําได้สําเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนได้แก่ ผู้สอนและผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับ ความหมายของการเรียนรู้ทั้งสาระที่ทิศนา แขมมณี (2547) ได้กล่าวไว้ดังนี้
          1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคลทําแทนกันไม่ได้ ผู้สอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง
          2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้าง ความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ ดังนั้นผู้สอนจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทําความ เข้าใจสิ่งต่างๆ
          3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกันอาจคิดได้หลายแง่ หลายมุมทําให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู้ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู้ตามที่สังคม ยอมรับด้วย ดังนั้นผู้สอนที่ปรารถนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ
          4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบานเพราะหลุดพ้นจาก ความไม่รู้ นําไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีกเพราะเป็นเรื่องน่าสนุกผู้สอนจึงควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิด
ความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้างผู้เรียนจะหาคําตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ และเกิดความสุข ขึ้นจากการได้เรียนรู้เมื่อพบคําตอบด้วยตนเอง
          5. การเรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิตขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ผู้สอน จึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ
          6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รู้มากขึ้นทําให้เกิดการนําความรู้ไปใช้ใน การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย
     จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมา ผู้สอนจึงต้องคํานึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
          1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
          2. การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
          3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
          4. การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทําให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
          5. ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
          6. การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
          7. การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
          8. การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
          9. การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
          10. การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
          11. ความเข้าใจผู้เรียน
          12. ภูมิหลังของผู้เรียน
          13. การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
          14. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) กล่าวคือมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระเทคนิค และวิธีการ
         15. การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
         16. การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

     3.3 การเรียนรู้ของผู้เรียน
          องค์ประกอบสุดท้ายที่สําคัญและนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสําคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสําคัญ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนรู้ก็เพื่อเน้นให้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย
         1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่คํานึงถึงการ แตกต่างระหว่างบุคคล คํานึงถึงการทํางานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมง ของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศของการ อาทรและเป็นมิตรตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายนําผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
          2. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง หรือกล่าวอีกลักษณะหนึ่งคือเรียน ด้วยสมองและสองมือเป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด ไม่ว่าจะเกิดจากสถานการณ์มา คําถามก็ตาม และได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการฝึกทักษะที่สําคัญคือ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล
          3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป้าหมาย สําคัญด้านหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญคือ ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายทั้ง ในและนอกมหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นเอกสารวัสดุสถานที่ สถานประกอบการบุคคลซึ่งประกอบด้วย เพื่อนกลุ่มเพื่อนหรือผู้เป็นภูมิปัญญาของชุมชน
          4. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการเป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้าน ต่างๆ ได้สัดส่วนกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชาที่จัดให้เรียนรู้
          5. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเองเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเข้าใจ ของผู้สอนที่ยึดหลักการว่าทุกคนเรียนรู้ได้และเป้าหมายที่สําคัญคือพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถที่ จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนจึงควรสังเกตและศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้เรียนว่า ถนัดที่จะเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วาง แผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเองผู้เรียน จะได้รับการฝึกด้านการจัดการแล้วยังฝึกด้านสมาธิความมีวินัยในตนเอง และการรู้จักตนเอง มากขึ้น

     4. เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

          4.1 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
     การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีบทบาทสําคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มี ปฏิสัมพันธ์กันบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และผู้เรียนมีโอกาสนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น คําถามคือ ผู้สอนจะมีวิธีการหรือ เทคนิคที่จะทําให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้อย่างไร ผู้สอนทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยเข้าใจว่า การให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองคือ การ ปล่อยให้ผู้เรียน เรียนรู้กันเองโดยที่ผู้สอนไม่ต้องมีบทบาทอะไร หรือใช้วิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัว ผู้เรียน เป็นลักษณะที่ถูกต้องของ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ แต่การที่ผู้เรียนจะ เกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรม ต่างๆ นําทางไปสู่การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง หรือถ้าจะจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล ผู้สอนจะต้องสํารวจให้รู้ก่อนว่า ภายในห้องสมุด มีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง อยู่ที่ใด จะค้นหาอย่างไร แล้วจึงวางแผนสั่งการ ผู้เรียนต้องรู้เป้าหมาย ของการค้นหาจากคําสั่งที่ผู้สอนให้ รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทํางานให้สําเร็จ และในขณะที่ผู้เรียน ลงมือปฏิบัติ ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่ออํานวยความสะดวก นําข้อมูลนั้นมาปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

     4.2 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทํางานร่วมกับคนอื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ของผู้สอนอีกประการหนึ่ง คือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ ผู้เรียนได้นั่งรวมกลุ่มกัน โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทําเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อ ผู้เรียนจะต้องทํางานร่วมกัน จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกันแต่ต่างคนต่าง ทํางานของตัวเอง การจัดให้ผู้เรียนทํางานร่วมกัน ผู้สอนจะต้องกํากับดูแลให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมี บทบาทในการทํางาน ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็น แนวทางนําไปใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรม คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียน เรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative Learning)

     วิทยากร เชียงกูล (2549) ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียน เรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดย สมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มีเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสําเร็จร่วมกัน วิธีการแบบ นี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวกมาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ได้มีโอกาส รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ได้พัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มใน การทํางานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง

     4.3 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
     ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนําความรู้ที่เรียนรู้มา ไปใช้ในการดําเนินชีวิด สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ง และนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทประพันธ์ในวิชาวรรณคดี เมื่อผู้สอนได้สด เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มีเนื้อหาของการปฏิบัติ เมื่อผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แล้วผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ทํางาน ปฏิบัติซ้ําอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชํานาญ

     ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ ผู้สอนควร กิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่างๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย ตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน นอกจากการใช้เทคนิคการออกคํา ให้ผู้เรียนแสดงการทํางานในลักษณะต่างๆ แล้ว ผู้สอนอาจใช้วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น วิธีสอน โดยให้จัดนิทรรศการ และการสอน โดยใช้โครงงาน โดยผู้สอนเป็นผู้กํากับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน ดําเนินการตาม แผน และร่วมกันสรุปผลงาน ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัด เพื่อให้ งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้ผ่านการให้จัดนิทรรศการและการ สอนโดยใช้โครงงาน ซึ่งสามารถทําอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
         1. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
         2. ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคําตอบด้วยตนเองโดยการคิดและปฏิบัติจริง
         3. วิธีการหาคําตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
         4. นําข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคําตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
         5. มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคําตอบพอสมควร
         6. คําตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
         7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือก วางแผน และจัดการนําเสนอคําตอบของปัญหาหรือผลของ การค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง

     นอกจากแนวคิดการใช้วิธีการสอนโครงงานและการจัดนิทรรศการแล้วยังมีแนวคิด เรื่องการบูรณาการที่ผู้สอนจะสามารถนํามาใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียน นําข้อมูลหลากหลายที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

     การบูรณาการ หมายถึง การนําศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มาผสมผสานเข้าด้วยกัน สาเหตุที่ต้องจัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนคือ
          1. ในชีวิตของคนเรามีเรื่องราวต่างๆ ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ได้แยกออกจากกัน เป็นเรื่องๆ
          2. เมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริงโดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้าง ออกไปผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
          3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนํามาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้ เรียนรู้อย่างมีความหมาย ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา แบ่งเบาภาระของผู้สอน
          4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
_____________________________________________________________________


          
     5. ประเภทของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือการสอนแบบ เน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก และการสอนแบบเน้นสื่อ

     5.1 การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลักการสอนแบบนี้ได้แก่

          1. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Base Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ ผู้เรียนจะ คิดวิเคราะห์ปัญหาตั้งสมมุติฐาน อันเป็นที่มาของปัญหาและหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียน จะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ มาก่อน เพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดย กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้ หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอ จะต้องค้นคว้าหาความรู้ เพิ่มเติมด้วยตนเองในการดําเนินการสอน ผู้สอนจะต้องนําปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็น กรณีศึกษาหรือสถานการณ์ในผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องดําเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
                 1. ทําความเข้าใจกับศัพท์บางคําหรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ
                 2. ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์
                 3. วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
                 4.ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
                 5. ทดสอบสมมุติฐาน และจัดลําดับความสําคัญ
                 6. กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
                 7.รวบรวมข้อมูลข่าวสารและความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
                 8. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้พร้อมทั้งทดสอบ
                 9. สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา

     กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีลักษณะที่สําคัญ คือผู้เรียนจะได้เรียน ด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 6-8 คน มีการอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน มีการเรียนรู้ด้วย ตนเองเนื้อหาสาระที่กําหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น จะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการบูรณาการเนื้อหาต่างๆ เข้า ด้วยกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กําหนดนั้นอย่างชัดเจน

          2. การสอนแบบนิรมิตวิทยา (Constructivism)
เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเองใด มีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของ ผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ทดลอง ระดมสมองศึกษาในความรู้ ฯลฯ การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเองในระหว่างกลุ่มผู้เรียนผู้สอนจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง

     ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิดแบบนิรมิตวิทยารายละเอียดของการ ดําเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้
     1.ผู้สอนบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
     2. ผู้สอนให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
     3. ผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ เรียน
     4. ผู้สอนให้ผู้เรียนได้นําองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ผู้สอนกําหนด
     5. ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้

          3. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept Attainment)
     เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรอง ของสิ่งนั้นๆ ได้ สามารถนําความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
     1. ผู้สอนจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการนําเสนอเหตุการณ์
รายละเอียดของสิ่งนั้น
     2. ผู้สอนให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งที่ได้สังเกตและให้ผู้เรียน หาลักษณะที่เหมือนกันลักษณะที่แตกต่างกัน
     3. ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสําคัญที่สังเกตได้ พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น
     4. ผู้สอนตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน และความเป็นไปได้ความเหมาะสม ของชื่อความคิดรวบยอดนั้น
     5. ผู้สอนกําหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้นําความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นไปใช้

     4. การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Cooperative Learning)
     เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทํางานช่วยเหลือซึ่งกัน และกันมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน และประสานงานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนลักษณะ ของการจัดการเรียนการสอน
          1. จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 3-6 คนโดยจัด คละกันตามความสามารถทางการเรียนมีทั้งเก่งปานกลางและย่อน
          2. ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง และรับผิดชอบการเรียนรู้ ของเพื่อนๆ ภาย ในกลุ่มของตนเองด้วย
          3. สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องร่วมมือในการทํางานอย่างเต็มความสามารถโดย สนับสนุนยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด

     5. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
     เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้ ความคิดพิจารณาตัดสินเรื่องราว ปัญหา ข้อสงสัยต่างๆ อย่างรอบคอบ และมีเหตุผล ผู้สอนจะเป็นผู้ นําเสนอปัญหา และดูแลให้คําแนะนําในการทํากิจกรรมของผู้เรียน กิจกรรมการสอนจะเริ่มจาก ปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะ และประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่งยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา ผู้เรียน จะรู้สึกว่าไม่มีคําตอบหรือคําตอบมีแต่ไม่เพียงพอ ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ ต่างๆและใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลาย รวมทั้ง วิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล และเป็นลําดับ ขั้นตอน เพื่อนําไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคําตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่นํามาใช้ในบทเรียน ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
       1. ผู้สอนนําเสนอปัญหาซึ่งเป็นคําถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดผู้เรียนตอบ คําถามของผู้สอนโดยให้คําตอบที่หลากหลาย
       2. ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันหาคําตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการลด ร่วมกันหรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
       3. ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคําตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
       4. ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปคําตอบที่เด่นชัดที่สุด
การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อ
     การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อ เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหนี้ เช่น การสอนโดยใช้บทเรียนสําเร็จรูป การสอนแบบศูนย์การเรียนการสอนโดยใช้โปรแก หรือ E-Learning เป็นต้น

     6. การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
          การประเมินผลเป็นกระบวนการสําคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสําเร็จให้กับผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลจําเป็นต้องมีลักษณะ ที่สอดคล้องกันแต่ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมากลับมีเหตุการณ์ที่ทําให้ดูเหมือนการสอนกับ การประเมินผลเป็นคนละส่วน แยกจากกัน การประเมินผลน่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้สอนได้ ข้อมูลที่จะนําไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับผู้เรียน แต่กลับกลายเป็นเครื่องมือตัดสินหรือตีตราความโง่ความฉลาด สร้างความกดดันและ เป็นทุกข์ให้กับผู้เรียน ความสําเร็จหรือล้มเหลวของการเรียนรู้ถูกตัดสินในครั้งสุดท้ายของ กระบวนการเรียนการสอน โดยไม่ได้ให้ความสําคัญกับผลงานความสําเร็จหรือพัฒนาการที่มีขึ้นในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ และนอกเหนือจากนั้น กระบวนการที่ใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน บางครั้งก็ไม่ได้กระทําอย่างสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัดจริงเพราะผู้สอนมักจะเคย ชินกับการใช้เครื่องมือวัดเพียงอย่างเดียว คือ การใช้แบบทดสอบ ซึ่งมีข้อจํากัดในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยดังนั้น เมื่อมีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญแล้วก็มีความจําเป็นที่จะต้องปฏิรูปกระบวนการวัดและประเมินผลใหม่ด้วย ให้สอดคล้องกัน ซึ่งผู้รู้ในวงการศึกษาได้ยอมรับกันว่า แนวคิดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ เหมาะสม คือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง

     6.1 การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
          การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสําคัญของการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นเมื่อ การจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ การวัดและประเมินผลจึงต้อง ปรับเปลี่ยนไปให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสําคัญดังนี้
            1. เน้นการประเมินที่ดําเนินการไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทําได้ตลอดเวลาทุกสภาพการณ์
            2. เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริงๆ
            3. เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
            4. ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการ ประเมินตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
            5. เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ความสามารถ หลายๆ ด้าน
            6. การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
            7. เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้สอน

     6.2 วิธีการและเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
          การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียน รอบด้านตลอดเวลา ใช้ข้อมูลและวิธีการหลากหลาย ด้วยวิธีการและเครื่องมือ ดังนี้
        1. ศึกษาวัตถุประสงค์ของการประเมิน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนรอบ ด้านดังนั้น จึงใช้วิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ การตรวจ ผลงานการทดสอบบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การรายงานตนเองของผู้เรียน แฟ้มสะสมงานเป็นต้น
        2. กําหนดเครื่องมือในการประเมิน เมื่อกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ให้เป็นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบค้านตามสภาพจริงแล้ว ในการกําหนดเครื่องมือจึงเป็น เครื่องมือที่หลากหลาย เป็นต้นว่า
          2.1 การบันทึกข้อมูล จากการศึกษา ผลงาน โครงงาน หนังสือที่ผู้เรียนผลิต แบบบันทึกต่างๆ ได้แก่ แบบบันทึกความรู้สึก บันทึกความคิด บันทึกของผู้เกี่ยวข้อง (นักศึกษา เพื่อน อาจารย์ ผู้ปกครอง) หลักฐานร่องรอยหรือผลงานจากการร่วมกิจกรรม เป็นต้น
          2.2 แบบสังเกต เป็นการสังเกตพฤติกรรม การร่วมกิจกรรมในสถานการณ์ต่างๆ
          2.3 แบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความคิดเห็น ทั้งตัวผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง
          2.4 แฟ้มสะสมงาน เป็นสื่อที่รวบรวมผลงานหรือตัวอย่างหรือหลักฐานที่ แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสําคัญที่ต้อง เก็บไว้อย่างเป็นระบบ
          2.5 แบบทดสอบเป็นเครื่องมือวัดความรู้ ความเข้าใจที่ยังคงมีความสําคัญ การประเมินสําหรับผู้ประเมิน ประกอบด้วย ผู้เรียนประเมินตนเองผู้สอน เพื่อนกลุ่มเพื่อน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

     6.3 การนําแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
          การนําแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการ สอน
มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
     1. ก่อนนําไปใช้ผู้สอนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพจริง ที่ สําคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
     2. การแนะนําให้ผู้เรียนจัดทําแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน นอกจาก จะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนการสอนของผู้สอน เพื่อจะนําไปปรับปรุง การเรียนการสอนต่อไป
          2.1 หลักการเบื้องต้นของการจัดทําแฟ้มสะสมงาน มีดังนี้
1. รวบรวมผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการด้านต่างๆ
2. รวบรวมผลงานที่แสดงลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
3. ดําเนินการควบคู่กับการเรียนการสอน
4. เก็บหลักฐานที่เป็นตัวอย่างที่แสดงความสามารถในด้านกระบวนการ และผลผลิศ
5. มุ่งเน้นในสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้
          2.2 ความสําคัญของแฟ้มสะสมงาน คือ การรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนทําให้ ผู้สอนได้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล และนําเอาข้อมูล ดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนได้เต็มศักยภาพ ของตนเอง


อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.  วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น