บทที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอน
ความหมายของรูปแบบ (Model)
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม
ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะ ลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม
หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ต อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction)
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship)
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination)
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships)
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction)
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship)
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination)
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships)
ในทางศึกษาศาสตร์ มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ
รูปแบบการสอน Model of Teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน Instructional
Model หรือ Teaching-Learning Model คำว่า
รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(1) รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน
รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมีจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
(2) รูปแบบการสอน หมายถึง
แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ
เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบ
การสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น
ๆ กำหนด
(3) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน
สาหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด
แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกัน ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน
องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน ยุทธศาสตร์การสอน
วิธีการสอน กระบวนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน และการวัดและประเมินผล
รูปแบบการเรียนการสอนมีความหมายในลักษณะเดียวกับระบบการเรียนการสอน
ซึ่งนักการศึกษาโดยทั่ว ไปนิยมใช้คำว่า “ระบบ” ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่
ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญๆ ของการศึกษา หรือการเรียนการสอนในภาพรวม และนิยมใช้คาว่า
“รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ “วิธีการสอน”
ในด้านความหมายของรูปแบบการสอน มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแง่มุม
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี
5 แบบ หรือ 5 ลักษณะ คือ
1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model)เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการใช้ภาษา(พูดและเขียน)
3. รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตรคณิตศาสตร์
4. รูปแบบเชิงแผนผัง (Schematic Model) ได้แก่แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์
1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model)เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการใช้ภาษา(พูดและเขียน)
3. รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตรคณิตศาสตร์
4. รูปแบบเชิงแผนผัง (Schematic Model) ได้แก่แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์
รูปแบบการเรียนการสอนและระบบการเรียนการสอน
ระบบการจัดการเรียนการสอน
กับรูปแบบการจัดการเรียนการสด นั้น มีความหมายเหมือนกัน
แต่นิยมใช้ต่างกันในแง่ของระบบใหญ่และระบบย่อย ระบบการจัดการ
เรียนการสอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญของการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่า
เช่น ระบบวิธีสอนแบบต่างๆ
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลได้รับ
การพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้ว
และมีผู้นิยมนําไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไปซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวด
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (CognitiveDomain)
เนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง
มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดมี 5 รูปแบบ
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ การเรียนรู้มโนทัศน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น
สามารถทําได้โดยการค้นหาคุณสมบัติ เฉพาะที่สําคัญของสิ่งนั้น
เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจําแนกสิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
หลักการสอน 9 ประการ ได้แก่
1.เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2.บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3.ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
4.นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5.ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8.ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9.สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
1.เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2.บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3.ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
4.นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5.ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8.ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9.สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
1.3
รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
การเรียนรู้จะมีความหมายเมื่อสิ่งที่เรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียนจัดทำผังโครงสร้างของความคิดรวบยอดเหล่านั้นแล้ววิเคราะห์หามโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่กว้างครอบคลุมความคิดรวบยอดย่อย
ๆขณะที่ผู้เรียนกำลังเรียนรู้สาระใหม่ ผู้เรียนจะสามารถ นำสาระใหม่นั้นไปเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ล่วงหน้าแล้ว
ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายต่อผู้เรียน
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลัก
6 ประการเกี่ยวกับ
1) การตระหนักรู้(awareness)
2) การเชื่อมโยง(association)
3) ระบบการเชื่อมโยง(link system)
4) การเชื่อมโยงที่น่าขบขัน(ridiculous association)
5) ระบบการใช้คำทดแทน
6) การใช้คำสำคัญ(key word)
1) การตระหนักรู้(awareness)
2) การเชื่อมโยง(association)
3) ระบบการเชื่อมโยง(link system)
4) การเชื่อมโยงที่น่าขบขัน(ridiculous association)
5) ระบบการใช้คำทดแทน
6) การใช้คำสำคัญ(key word)
1.5 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟฟิก
กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบสำคัญ
3 ส่วนด้วยกันได้แก่ ความจำข้อมูล กระบวนการทางปัญญา
และเมตาคอคนิชั่นความจำข้อมูลประกอบด้วย ความจำจากการรู้สึกสัมผัส(sensory
memory) ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้เพียงประมาณ 1 วินาทีเท่านั้น ความจำระยะสั้น(short-term memory) หรือความจำปฏิบัติการ(working memory) ซึ่งเป็นความจำที่เกิดขึ้นหลังจากการตีความสิ่งเร้าที่รับรู้มาแล้ว
ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราวประมาณ 20 วินาที และทำหน้าที่ในการคิด
ส่วนความจำระยะยาว (long- term
memory) เป็นความจำที่มีความคงทน
มีความจุไม่จำกัดสามารถคงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อต้องการใช้จะสามารถเรียกคืนได้
สิ่งที่อยู่ในความจำระยะยาวมี 2 ลักษณะ คือ ความจำเหตุการณ์ (episodic
memory) และความจำความหมาย(semantic memory) เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
มโนทัศน์ กฎ หลักการต่าง ๆ
องค์ประกอบด้านความจำข้อมูลนี้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ขึ้นกับกระบวนการทางปัญญาของบุคคลนั้น
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (Affective
Domain)
ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิด ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม
คุณธรรม และจริยธรรมที่พึงประสงค์มี 4 รูปแบบดังนี้
2.1
รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของแครทโวลบลุมและมาเซีย บลูมได้จัดลําดับขั้นตอนของ
การเรียนรู้ไว้ 5 ขั้นตอน
1. ขั้นการรับรู้ (receiving or attending)
2. ขั้นการตอบสนอง (responding)
3. ขั้นการเห็นคุณค่า (valuing)
4. ขั้นการจัดระบบ (organization)
5. ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (characterization)
1. ขั้นการรับรู้ (receiving or attending)
2. ขั้นการตอบสนอง (responding)
3. ขั้นการเห็นคุณค่า (valuing)
4. ขั้นการจัดระบบ (organization)
5. ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (characterization)
2.2
รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน (Jurisprudential Model)
การตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในประเด็นปัญหาขัดแย้งต่างๆปัญหาดังกล่าวอาจเป็นปัญหาทางสังคมหรืปัญหาส่วนตัวที่ยากแก่การตัดสินใจ
โดยการตัดสินใจต้องต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆน้อยที่สุด
2.3
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
พัฒนาโดยแชฟเทล
การสวมบทบาทสมมิเป็นวิธีที่ช่วยให้บุคคลได้แสงความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่อยู่ภายในออกมา
ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมาและนำมาศึกษาทำความเข้าใจกันได้
ช่วยให้บุคคลเกิดกาเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน
การที่สวมบทบาทเป็นผู้อื่นก็สามารถช่วยห้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิดค่านิยมและพฤติกรรมของผู้อื่นเช่นเดียวกัน
เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสาม
ผู้เรียนในด้านการปฏิบัติการกระทํา หรือการแสดงออกต่างๆปแบบที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิด
พัฒนาทางด้านนี้ ที่สําคัญๆ ซึ่งจะนําเสนอในที่นี้มี 3 รูปแบบดังนี้
3.1
รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
การทํางานของกล้ามเนื้อหรือร่างกายความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลายๆ
ส่วน การทํางานเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมองทักษะ
ปฏิบัตินี้สามารถพัฒนาด้วยการฝึกฝน ซึ่งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว
จะเกิดความถูกต้อง ความ คล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญชํานาญการ และความคงทน
ผลของพฤติกรรมหรือการกระทําสามารถ สังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยํา
ความแรงหรือความราบรื่นในการจัดการ
3.2 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow's
Instructional Model for Psychomotor Domain) แฮร์โรว์ (Harrow,
1972: 96-99) ได้จัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้านทักษะ ปฏิบัติไว้
5 ขั้น โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมากดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ
ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง
ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์
ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ
ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ
ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง
ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์
ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ
3.3 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies’
Instructional Model for Psychomotor Domain) การฝึกให้ผู้เรียนสามารถทำทักษะย่อย
ๆ เหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะใหญ่
จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จได้ดีและเร็วขึ้น
เป็นกระบวนการทางสติปัญญา เช่น
กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่างๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์
การอุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้า อย่างมีวิจารณญาณ
เป็นต้นมี 4 รูปแบบ
4.1 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Instructional Model) มนุษย์อาศัยอยู่ในสังคม ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
เพื่อสนองความต้องการ ตน ความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นในกลุ่ม
จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้องพยายามหาหนทางขจัดแก้ไขหรือจัดการทําความกระจ่างให้เป็นที่พอใจหรือยอมรับทั้งของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
ส่วนในเรื่อง
“ความรู้”ความรู้เป็นเป้าหมายของกระบวนการสืบสอบทั้งหลายความรู้จึงเป็นสิ่งที่ค้นพบผ่านทางกระบวนการสืบสอบ
(inquiry)
โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์
4.2 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอุปนัย (Inductive
Thinking Instructional Model) การคิดเป็นสิ่งที่สอนได้
การคิดเป็นกระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและข้อมูล
และกระบวนการนี้มีลําดับขั้นตอน ดังเช่นการคิดอุปนัย(inductive thinking) จะต้องเริ่มจากการสร้างความคิดรวบยอด หรือมโนทัศน์ก่อน (concept
formation) แล้วจึงถึงขั้นการตีความข้อมูล และสรุป (interpretation
of data) ต่อไปจึงนําข้อสรุปหรือ หลักการที่ได้ไปประยุกต์ใช้ (application
of principles)
4.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectics
Instructional Model) พัฒนาขึ้นจาก แนวคิดของ กอร์ดอน (Gordon)การคิดโดยสมมติ ตัวเองเป็นคนอื่น
และถ้ายิ่งให้บุคคลจากหลายกลุ่มประสบการณ์มาช่วยกันแก้ปัญหา ก็จะยิ่งได้วิธีการ
ที่หลากหลายขึ้น
และมีประสิทธิภาพมากขึ้นสภาพเช่นนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ๆวิธีการนี้มีประโยชน์มากเป็นพิเศษสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนและการพูดอย่างสร้างสรค์
รวมทั้งการส้างสรรค์งานทางศิลปะ
4.4
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของแอร์แรนซ์ (Torrance's
Future Problem – Solving Instructional Model) พัฒนามาจากรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตาม
แนวคิดของทอร์แรนซ์ (Torrance, 1962)
ซึ่งได้นําองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบ คือ การคิดคล่องแคล่ว
(fluency) การคิดยืดหยุ่น (flexibility)
การคิดริเริ่ม (originality) การใช้ประโยชน์จากกลุ่มซึ่งมีความคิดหลากหลาย โดยเน้นการใช้เทคนิคระดมสมองเกือบทุกขั้นตอน
เป็นรูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้ด้าน
ต่างๆ ของผู้เรียนไปพร้อมๆ กันลักษณะนี้กําลังได้รับความนิยมอย่างมาก
เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึก มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้านหรือการพัฒนาเป็นองค์รวมลักษณะดังกล่าวที่นํามานําเสนอในที่นี้มี
4 รูปแบบใหญ่ๆ
1. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง (Direct
Instruction Model)
การเรียนการสอน
โดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้านเนื้อหา ความรู้
และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่าง มีประสิทธิภาพ (academic
learning) เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุดประสบความสําเร็จในการเรียน
นอกจากนั้นยังพบว่า
บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสําหรับผู้เรียนสามารถสกัดกั้นความสําเร็จของผู้เรียนได้
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง
(Storyline
Method)
การเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่วิถีชีวิตจริง การ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
และการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการสอนที่มี
ลักษณะบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรและทักษะการเรียนจากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน
โดยให้ผู้เรียนได้ สร้างสรรค์เรื่องขึ้นด้วยตนเองเชื่อมโยงกับเรื่องราวให้ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องมี
4 คําถามได้แก่ ที่ไหน ใคร ทําอะไร อย่างไร
และมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นการเรียนการสอน
ด้วยวิธีดังกล่าวจึงช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ประสบการณ์และความคิดของตนอย่างเต็มที่
และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกัน อภิปรายร่วมกัน
และเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
3. .รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักการเรียนรู้
4
MAT
แมคคาร์ธี และคณะได้นําแนวคิดของโคล์ป
มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทํางานของสมองทั้งสองซีก ทําให้
เกิดเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คําถามหลัก4 คําถามคือ ทําไม (Why?) อะไร (What?) อย่างไร (How?) และถ้า
(IPP) ซึ่งสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกันทั้ง4
แบบ ให้สามารถใช้สมองทุกส่วนของตนในการพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่
4. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Instructional
Models of Cooperative Learning)
ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขัน
เพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของ การแพ้ - ชนะ ต่างจากการร่วมมือกัน
ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ชนะ – ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่
ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจและสติปัญญา หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ ประกอบด้วย
1. การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน (positive interdependence)
2. การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มี ปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction)
3. การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills)
4. การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing)
5. การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงาน หรือผลสัมฤทธิ์ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่สามารถ ตรวจสอบและวัดประเมินได้ (individual accountability)
1. การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน (positive interdependence)
2. การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มี ปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction)
3. การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills)
4. การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing)
5. การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงาน หรือผลสัมฤทธิ์ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่สามารถ ตรวจสอบและวัดประเมินได้ (individual accountability)
อ้างอิง
ผศ.ดร. พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.